แนวเชื่อมเละเทะแบบนี้แก้ยังไงดี?

แนวเชื่อมเละเทะแบบนี้แก้ยังไงดี?

แนวเชื่อมเละเทะแบบนี้แก้ยังไงดี?

วันนี้ warehousebyhappycons.com/ นำบทความดีๆ เกี่ยวกับการเชื่อมเหล็กโครงสร้าง และการแก้ไขแนวเชื่อม มาเป็นแหล่งความรู้สำหรับทุกท่าน ใช้ในการแก้ไขแนวเชื่อมงานสร้าง

มือใหม่ท่านไหนลองเชื่อมแล้วรู้สึกว่าแนวเชื่อมไม่สวย ดูมันหงิก ๆ งอ ๆ ยังไงไม่รู้บ้าง
จริง ๆ แล้วแก้ได้ไม่ยากเลย วันนี้เราจะมาพูดถึงการปรับวิธีเชื่อมง่าย ๆ ที่จะทำให้งานเชื่อมออกมาสวยและแข็งแรงกัน

1.ปรับกระแสไฟให้เหมาะสม
ลวดเชื่อมทุกชนิดจะมีเขียนกระแสไฟที่แนะนำไว้ข้างกล่องเพราะว่าถ้าใช้ไฟผิดปุ๊บ ชีวิตเปลี่ยนทันที ถ้าเริ่มเชื่อมทีแรกแนะนำให้ใช้ไฟกลาง ๆ ก่อน เช่นข้างกล่องเขียนไว้ 70-130A ก็ตั้งไฟ 100A แล้วลองดูว่าเชื่อมเป็นยังไง บางทีช่างบอกว่าก็ตั้งไฟตามที่แนะนำแล้วก็ยังเชื่อมออกมาไม่ดี อันนี้ต้องขอให้ลองใช้เครื่องตรวจแอมป์วัดไฟจากตู้ประกอบด้วย เดี๋ยวนี้ตู้เชื่อมที่ไม่ได้มาตรฐาน กระแสไฟออกมาไม่ตรงกับหน้าจอก็เยอะ

– กระแสไฟแรงไป สังเกตจากแนวเชื่อมออกมากว้าง สะเก็ดไฟเยอะ ซึ่งนอกจากกินไฟแล้วยังต้องเสียเวลามากำจัดสะเก็ดไฟอีก

– กระแสไฟเบาไป ตอนเริ่มอาร์กก็จะติดแล้วติดอีก เชื่อมออกมาแนวเชื่อมจะนูน แคบ และไม่ซึมลึก การยึดติดชิ้นงานก็จะแย่ตามไปด้วย

2.คุมระยะอาร์กให้เหมาะสม
ระยะอาร์กก็คือระยะตั้งแต่ปลายลวดเชื่อมจนถึงชิ้นงาน ตรงบริเวณที่จะเกิดการอาร์กนั่นแหละ ไฟอาร์กที่พ่นมาจากปลายลวดจะมีลักษณะเป็นโคน เหมือนไฟจากกระบอกไฟฉาย ซึ่งถ้าระยะอาร์กเปลี่ยนก็จะให้แนวเชื่อมออกมาต่างกันไปด้วย

– ระยะอาร์กห่างไป นึกภาพไฟฉายส่องเข้ากำแพงจากที่ไกล ไฟมันก็จะกว้าง ๆ จาง ๆ หน่อย เวลาเชื่อมแล้วระยะอาร์กห่างไปก็ประมาณนั้นแหละ แนวก็จะออกมากว้าง แบนแต่ไม่สม่ำเสมอ ที่สำคัญคือสะเก็ดไฟจะเยอะมาก

– ระยะอาร์กชิดไป ถ้าจ่อลวดเชื่อมเข้าไปใกล้ชิ้นงานมาก ๆ แนวก็จะแคบ นูนตรงกลาง แต่สูงบ้างต่ำบ้าง

3.ความเร็วในการเดินแนว
– เดินแนวเร็วไป แนวเชื่อมจะเล็ก เนื้อแนวเชื่อมน้อยเกินไป ทำให้แนวเชื่อมไม่แข็งแรง เปรียบเสมือนทากาวน้อยเกินไปก็จะยึดเกาะไม่ดี

 เดินแนวช้าไป แนวเชื่อมจะกว้าง นูน แต่ไม่ได้แปลว่าดีนะครับ เพราะอาจทำให้เกิดสแล็กฝังในได้ง่าย และก็เสียเวลาในการทำงานเพิ่มขึ้นด้วย

รูปแสดงแนวเชื่อมที่สวยงาม

ถ้าเราปรับกระแสไฟ ระยะอาร์ก และความเร็วในการเดินแนวให้เหมาะสม ก็จะสามารถเชื่อมออกมาเป็นเกล็ดสวยงามอย่างนี้แหละ ยิ่งถ้าใช้ลวดเชื่อมดี ๆ ปรับไฟง่าย อาร์กสม่ำเสมออย่างยาวาต้า การเชื่อมก็ยิ่งง่ายขึ้นไปอีก

ที่มา: 999 Engineering & Services

https://www.facebook.com/YawataWelding