ไฟ 1 เฟส กับ 3 เฟส ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร ?

เราจะมาพูดถึงระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส กับ ระบบไฟฟ้า 3 เฟส ซึ่งระบบไฟฟ้า 1 เฟส นั้นก้คือไฟบ้านที่เราใช้กันเป็นปกติอยู่ทุกวัน จะเป็นระบบไฟที่เหมาะกับการใช้งานไฟที่ไม่มาก ส่วนไฟระบบ 3 เฟซ นั้นจะใช้งานอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม หรืออาคารพื้นที่ ที่มีกำลังการใช้ไฟที่มาก โดยแต่ละประเภทนั้นมีรายละเอียดดังนี้

1. ระบบไฟฟ้า 1 เฟส คือ มีแรงดันไฟฟ้า 220 – 230 โวลท์ (Volt) มีความถี่ 50 เฮิร์ซ (Hz) จะมีสายไฟฟ้าในระบบจำนวน 2 สายประกอบด้วย 
-สายไลน์ หรือสายเฟส หรือสายไฟ เขียนแทนด้วยตัวอักษร L (Line) 1 เส้น ทดสอบโดยใช้ไขควงวัดไฟ แตะสายจะพบว่าหลอดไฟเรืองแสงที่อยู่ภายในไขควงจะติดมีไฟ
-สายนิวทรอล หรือสายศูนย์ เขียนแทนด้วยตัวอักษร N (Neutral) ถ้านำไขควงวัดไฟมาทดสอบจะไม่มีไฟติด

ดังจะเห็นได้จากปลั๊กไฟตามบ้านที่เห็นมีช่องเสียบอยู่ 2 ช่องนั้น ถ้าเอาไขควงสำหรับตรวจกระแสไฟฟ้าลองวัดดูจะเห็นได้ว่าช่องหนึ่งจะมีไฟแดงปรากฏ แสดงว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แต่เมื่อเวลาใช้งานกับหลอดไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้ร่วมกันทั้ง 2 สายเพื่อให้กระแสไฟฟ้าครบวงจรส่วนบางแห่งที่เห็นปลั๊กไฟมี 3 ช่องนั้นยังเป็นระบบไฟฟ้า แบบ 1 เฟสเหมือนกันแต่ช่องที่เพิ่มขึ้นมานั้นเป็นช่องที่ต่อกับสายดิน ( ground ) เพื่อให้กระแส ไฟฟ้าไหลลงดินเวลาเกิดไฟรั่วเป็นการเพิ่มความปลอดภัย และปลั๊กของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะใช้กับ ระบบสายดินนี้จะเป็นปลั๊กแบบ 3 ขาซึ่งในต่างประเทศถือเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป

2. ระบบไฟฟ้า 3 เฟส คือ มีแรงดันไฟฟ้าระหว่าง สายไลน์ กับ ไลน์ 380 – 400 โวลท์ และแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไลน์ กับ นิวทรอล 220 – 230 โวลท์ และมีความถี่ 50 เฮิร์ซ (Hz) จะมีสายไฟในระบบจำนวน 4 สาย ประกอบด้วย 
-สายไลน์ (มีไฟ) 3 เส้น
-สายนิวทรอล (ไม่มีไฟ) 1 เส้น

ไฟฟ้าระบบนี้ไม่สามารถนำมาใช้กับระบบแสงสว่างหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตามบ้านได้โดยตรง มาถึงตรงนี้ หลายคนคงจะสงสัยว่าเมื่อระบบไฟฟ้า 3 เฟสไม่สามารถนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆตามบ้านได้ โดยตรงแล้วจะเอามาแนะนำกันเพื่ออะไร ข้อสงสัยนี้สามารถอธิบายได้โดยไม่ยาก กล่าวคือ การนำ ระบบไฟฟ้า 3 เฟสเข้ามาใช้ในบ้านนั้นมิได้เป็นการใช้ไฟฟ้าทั้ง 3 เฟสกับอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชิ้นโดย ตรง แต่เป็นการนำไฟฟ้า 3 เฟสนั้นมาแบ่งแยกให้เป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด แล้วกระจายไป ตามจุดต่างๆที่มีการใช้ไฟฟ้า การกระจายจุดของการใช้งานเช่นนี้ทำให้ไฟฟ้าแต่ละเฟสไม่ถูกใช้งานมาก ถือเป็นการเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้า ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้า เพราะการคิดอัตราค่าใช้ไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยเป็น กิโลวัตต์ – ชั่วโมงจะคิดเป็นอัตราก้าวหน้า กล่าวคือยิ่งมีการใช้ไฟฟ้ามากก็จะยิ่งเสียค่าไฟฟ้าในอัตรา ที่สูงขึ้น ฉะนั้นการกระจาย การใช้ไฟฟ้าออกเป็น 3 ส่วนจากระบบไฟฟ้าที่นำเข้า 3 เฟสดังกล่าว จึงทำให้การใช้ไฟฟ้าในแต่ละส่วนหรือแต่ละเฟสน้อยลง จึงไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูง

การนำระบบไฟฟ้า 3 เฟสมาใช้นั้นจะเสียค่าใช้จ่ายในตอนต้นค่อนข้างสูง เช่น ค่าติดตั้ง ค่าประกันการใช้ไฟฟ้า แต่สามารถประหยัดค่าใช้ไฟฟ้าได้ในระยะยาวฉะนั้นบ้านหรืออาคารที่ติดตั้ง ระบบไฟฟ้าดังกล่าวจึงควรเป็นบ้านหรืออาคารที่ค่อนข้างใหญ่ มีการใช้ไฟฟ้าหลายจุดและเป็นปริมาณ มากจึงจะคุ้ม ถ้าเป็นบ้านหรืออาคารที่มีขนาดเล็กและมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าไม่มากควรติดตั้งระบบ ไฟฟ้าเฟสเดียวก็เพียงพอ

ซึ่งระบบแสงสว่างที่ใช้หลอดไฟโดยทั่วไปจะใช้ระบบไฟฟ้า 1 เฟส แต่ถ้าหากภายในโรงงานเป็นระบบไฟฟ้า 3 เฟสเข้ามาในโรงงานก็จะไม่สามารถใช้ไฟฟ้าทั้ง 3 เฟสกับหลอดไฟโดย ตรง แต่ต้องนำไฟฟ้า 3 เฟสนั้นมาแบ่งแยกให้เป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด แล้วกระจายไปตามจุดต่างๆที่มีการใช้ระบบแสงสว่างถือเป็นการเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้าทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้า โดยระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุดนี้ควรจะมีชนิด จำนวน และขนาดของหลอดไฟใกล้เคียงกันเพื่อให้เกิดสภาวะสมดุลในระบบไฟฟ้า

ขอบคุณที่มาความรู้ดีๆจาก http://www.tngroup.co.th