“เหล็กเกรดต่ำ “ ทะลักเข้าไทย ดูยังไง ไม่ให้เจอ
เหล็กเบา เหล็กปลอม เหล็กเกรดต่ำ เหล็กเต็ม ไม่เต็ม ดูยังไง เรามีวิธีดูมาฝากกัน
ผลจากมาตรา 232 จากสหรัฐอเมริกาพ่นพิษไปทั่วโลกในอุตสาหกรรมเหล็กรวมถึงประเทศไทยด้วย ผู้ผลิตเหล็กในประเทศรับกรรมสงครามการค้า! ส่วนแบ่งการตลาดสินค้าเหล็กจากผู้ผลิตไทยมีเพียง 30% ขณะที่ ยอดนำเข้าพุ่ง 70% ห่วงเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสียอดนำเข้าทะลุหลักแสนตัน หวั่นผู้บริโภคใช้ของไม่ได้มาตรฐานระบาดเกลื่อน โดยมากผู้เลือกสินค้าเหล็กมักเป็นผู้รับเหมากับเจ้าของโครงการ ไม่ใช่ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ทำให้เห็นสภาพสินค้าเหล็กในตลาดของไทย และที่น่าเป็นห่วงมาก คือ ในตลาดมีทั้งเหล็กเส้นชนิดเต็มตามมาตรฐาน มอก. เหล็กเส้นชนิดเบา (ไม่ได้ตามมาตรฐาน) เหล็กแผ่นเคลือบบาง ๆ และกลุ่มสินค้าเหล็กที่ปริมาณหรือน้ำหนักสินค้าไม่ตรงกับป้ายที่ระบุไว้ เช่น ตะปู ลวด ผูกเหล็ก ลวดหนาม ลวดชุบ ซึ่งยังเป็นปัญหาเดิมที่ยังแก้ไขไม่ได้
เหล็กเบา เหล็กปลอม เหล็กเกรดต่ำ หรือ เหล็กเบา ดูยังไง วันนี้เรามีวิธีดูมาฝากกัน
ก่อนจะดูว่าเหล็กเบา เหล็กปลอม เหล็กเกรดต่ำนั้น มีวีธีการดูอย่างไร ขอมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า เหล็กเบา เหล็กปลอม เหล็กเกรดต่ำ ที่หมายถึงเนี่ยคืออะไร
เหล็กเต็ม (หรือ “เหล็กโรงใหญ่”) คือ เหล็กเส้นหรือเหล็กรูปพรรณที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง หรือขนาดหน้าตัด และน้ำหนักของเหล็กได้ตามที่มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) กำหนดไว้ ซึ่งได้แก่ ประเภท, ชั้นคุณภาพ, ขนาด, สมบัติทางกล, ส่วนประกอบทางเคมี, เกณฑ์ความคลาดเคลื่อน, ฉลากและเครื่องหมาย, ชิ้นส่วนตัวอย่าง รวมถึงวิธีการทดสอบชิ้นส่วนตัวอย่างสำหรับวัสดุที่จะกลายมาเป็นโครงสร้างอาคารเหล็กต่อไป การเลือกใช้เหล็กเต็มในงานโครงสร้างอาคาร จึงเป็นไปเพื่อความแข็งแรงและปลอดภัยตามที่วิศวกรออกแบบไว้
เหล็กปลอม เหล็กเกรดต่ำ เหล็กไม่เต็ม หรือ เหล็กเบา คือ เหล็กที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและน้ำหนักไม่ได้ตามที่มาตรฐานกำหนด จะไม่มี มอก. ติดที่เหล็กเส้นนั้นๆ คุณสมบัติของเหล็กก็จะด้อยตามไปด้วย เมื่อเรารู้แล้วว่า เหล็กไม่เต็มหรือเหล็กเบา คืออะไร เราก็มาดูกันเลยว่าวิธีการดูนั้นดูได้อย่างไรบ้าง
1. ตรวจสอบด้วยตาเปล่า ให้สังเกตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง หรือ หน้าตัดเหล็ก เท่ากันตลอดความยาวเส้น หน้าตัดเหล็กไม่บิดเบี้ยว ผิวเหล็กเรียบ ไม่มีรูตามดหรือเป็นลูกคลื่น
2. ตรวจสอบจากใบกำกับเหล็ก จะระบุข้อมูลสำคัญต่างๆ เอาไว้ครบถ้วน เช่น ชื่อบริษัท ประเภทสินค้า ชั้นคุณภาพ ขนาด ความยาว จำนวนเส้นต่อมัด วัน/เวลาที่ผลิต หรือ เลขที่ มอก.
3. การชั่งน้ำหนัก โดยตัดเหล็กให้ได้ขนาด 1 เมตรแล้ว เอาไปชั่งน้ำหนัก หากชั่งแล้วน้ำหนักอยู่ในมาตราฐานของ สมอ. แสดงว่าเหล็กนี้ได้มาตราฐาน หรือเป็นเหล็กเต็ม
- ขนาด 6 มม. : 0.222 กก.
- ขนาด 9 มม. : 0.499 กก.
- ขนาด 12 มม. : 0.888 กก.
- ขนาด 10 มม. : 0.616 กก.
- ขนาด 12 มม. : 0.888 กก.
- ขนาด 16 มม. : 1.578 กก.
น้ำหนักเหล็กเต็ม 1 เมตร(ขอบคุณข้อมูลจาก scgbuidingmaterials.com)
4. ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของเหล็ก เนื้อเหล็กของเหล็กปลอม เหล็กเกรดต่ำ หรือ เหล็กเบาที่เรารู้จักกัน จะมีลักษณะคล้ายภายนอกคล้ายกับเหล็กเต็ม แต่จะมีความแข็งแรงและความยืดหยุ่นไม่เท่ากับเหล็กเต็ม แตกหักได้ง่าย
ก่อนที่ผู้รับเหมานำเหล็กมาสร้างบ้านหรืออาคารให้กับลูกค้า ให้ตกลงกันใน BOQ ใบประมาณราคาและวัสดุว่าต้องเป็นเหล็กที่ผ่าน มอก.เท่านั้น และเมื่อผู้รับเหมานำเหล็กเข้ามาหน้างาน คุณต้องตรวจสอบเหล็กอยู่บ่อยๆ เพราะอาจมีการนำเหล็กเต็มมาให้ดูในตอนแรก แต่พอเอาไปทำจริงๆ กลับใช้เหล็กไม่เต็มมาทำให้คุณ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมบ้านเราครับ ซุึ่งเราจะต้องตรวจสอบเบื้องต้นได้
ในการออกแบบสร้างโกดัง โรงงาน อาคารสำเร็จรูปHappywarehouse เรานำเข้าและใช้เหล็กรูปพรรณกัลวาไนท์ตามมาตรฐานโครงสร้างA36,SS400 ซี่งเป็นเหล็กความแข็งแรงสูงถึง 3500-4000 KSC (มาตรฐานประเทศไทย2500KSC) และมีหนังสือรับรอง ผลการทดสอบ จากสถาบันทดสอบค่าคุณสมบัติวัสดุ เพื่อให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่น ในการสร้างโกดัง โรงงาน อาคารสำเร็จรูปกับเรา Happy Warehouse