เหล็กเกรดต่ำดูยังไง?

“เหล็กเกรดต่ำ “ ทะลักเข้าไทย ดูยังไง ไม่ให้เจอ

เหล็กเบา เหล็กปลอม เหล็กเกรดต่ำ เหล็กเต็ม ไม่เต็ม ดูยังไง เรามีวิธีดูมาฝากกัน

เผยแพร่เมื่อ 19 กันยายน 2561 โดย OSH Crew

            ผลจากมาตรา 232 จากสหรัฐอเมริกาพ่นพิษไปทั่วโลกในอุตสาหกรรมเหล็กรวมถึงประเทศไทยด้วย ผู้ผลิตเหล็กในประเทศรับกรรมสงครามการค้า! ส่วนแบ่งการตลาดสินค้าเหล็กจากผู้ผลิตไทยมีเพียง 30% ขณะที่ ยอดนำเข้าพุ่ง 70% ห่วงเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสียอดนำเข้าทะลุหลักแสนตัน หวั่นผู้บริโภคใช้ของไม่ได้มาตรฐานระบาดเกลื่อน โดยมากผู้เลือกสินค้าเหล็กมักเป็นผู้รับเหมากับเจ้าของโครงการ ไม่ใช่ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ทำให้เห็นสภาพสินค้าเหล็กในตลาดของไทย และที่น่าเป็นห่วงมาก คือ ในตลาดมีทั้งเหล็กเส้นชนิดเต็มตามมาตรฐาน มอก. เหล็กเส้นชนิดเบา (ไม่ได้ตามมาตรฐาน) เหล็กแผ่นเคลือบบาง ๆ และกลุ่มสินค้าเหล็กที่ปริมาณหรือน้ำหนักสินค้าไม่ตรงกับป้ายที่ระบุไว้ เช่น ตะปู ลวด ผูกเหล็ก ลวดหนาม ลวดชุบ ซึ่งยังเป็นปัญหาเดิมที่ยังแก้ไขไม่ได้

เหล็กเบา เหล็กปลอม เหล็กเกรดต่ำ หรือ เหล็กเบา ดูยังไง วันนี้เรามีวิธีดูมาฝากกัน
ก่อนจะดูว่าเหล็กเบา เหล็กปลอม เหล็กเกรดต่ำนั้น มีวีธีการดูอย่างไร ขอมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า เหล็กเบา เหล็กปลอม เหล็กเกรดต่ำ ที่หมายถึงเนี่ยคืออะไร

เหล็กเต็ม (หรือ “เหล็กโรงใหญ่”) คือ เหล็กเส้นหรือเหล็กรูปพรรณที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง หรือขนาดหน้าตัด และน้ำหนักของเหล็กได้ตามที่มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) กำหนดไว้ ซึ่งได้แก่ ประเภท, ชั้นคุณภาพ, ขนาด, สมบัติทางกล, ส่วนประกอบทางเคมี, เกณฑ์ความคลาดเคลื่อน, ฉลากและเครื่องหมาย, ชิ้นส่วนตัวอย่าง รวมถึงวิธีการทดสอบชิ้นส่วนตัวอย่างสำหรับวัสดุที่จะกลายมาเป็นโครงสร้างอาคารเหล็กต่อไป การเลือกใช้เหล็กเต็มในงานโครงสร้างอาคาร จึงเป็นไปเพื่อความแข็งแรงและปลอดภัยตามที่วิศวกรออกแบบไว้

เหล็กปลอม เหล็กเกรดต่ำ เหล็กไม่เต็ม หรือ เหล็กเบา คือ เหล็กที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและน้ำหนักไม่ได้ตามที่มาตรฐานกำหนด จะไม่มี มอก. ติดที่เหล็กเส้นนั้นๆ คุณสมบัติของเหล็กก็จะด้อยตามไปด้วย เมื่อเรารู้แล้วว่า เหล็กไม่เต็มหรือเหล็กเบา คืออะไร เราก็มาดูกันเลยว่าวิธีการดูนั้นดูได้อย่างไรบ้าง

1. ตรวจสอบด้วยตาเปล่า ให้สังเกตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง หรือ หน้าตัดเหล็ก เท่ากันตลอดความยาวเส้น หน้าตัดเหล็กไม่บิดเบี้ยว ผิวเหล็กเรียบ ไม่มีรูตามดหรือเป็นลูกคลื่น

                                     ตรวจสอบเหล็กเต็ม มอก.(ขอบคุณข้อมูลจาก scgbuidingmaterials.com)

2. ตรวจสอบจากใบกำกับเหล็ก จะระบุข้อมูลสำคัญต่างๆ เอาไว้ครบถ้วน เช่น ชื่อบริษัท ประเภทสินค้า ชั้นคุณภาพ ขนาด ความยาว จำนวนเส้นต่อมัด วัน/เวลาที่ผลิต หรือ เลขที่ มอก.

                                    ใบกำกับเหล็ก ตรวจสอบเหล็กเต็ม มอก.(ขอบคุณข้อมูลจาก scgbuidingmaterials.com)

3. การชั่งน้ำหนัก โดยตัดเหล็กให้ได้ขนาด 1 เมตรแล้ว เอาไปชั่งน้ำหนัก หากชั่งแล้วน้ำหนักอยู่ในมาตราฐานของ สมอ. แสดงว่าเหล็กนี้ได้มาตราฐาน หรือเป็นเหล็กเต็ม

                                น้ำหนักเหล็กเต็ม เหล็ก มอก.(ขอบคุณข้อมูลจาก scgbuidingmaterials.com)
เหล็กเส้นกลม (Round Bar) ขนาดน้ำหนักเหล็ก 1 เมตร 
  • ขนาด 6 มม. : 0.222 กก.
  • ขนาด 9 มม. : 0.499 กก.
  • ขนาด 12 มม. : 0.888 กก.
เหล็กเส้นข้ออ้อย (Deform Bar)ขนาดน้ำหนักเหล็ก 1 เมตร 
  • ขนาด 10 มม. : 0.616 กก.
  • ขนาด 12 มม. : 0.888 กก.
  • ขนาด 16 มม. : 1.578 กก.

น้ำหนักเหล็กเต็ม 1 เมตร(ขอบคุณข้อมูลจาก scgbuidingmaterials.com)

4. ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของเหล็ก เนื้อเหล็กของเหล็กปลอม เหล็กเกรดต่ำ หรือ เหล็กเบาที่เรารู้จักกัน จะมีลักษณะคล้ายภายนอกคล้ายกับเหล็กเต็ม แต่จะมีความแข็งแรงและความยืดหยุ่นไม่เท่ากับเหล็กเต็ม แตกหักได้ง่าย

ก่อนที่ผู้รับเหมานำเหล็กมาสร้างบ้านหรืออาคารให้กับลูกค้า ให้ตกลงกันใน BOQ ใบประมาณราคาและวัสดุว่าต้องเป็นเหล็กที่ผ่าน มอก.เท่านั้น และเมื่อผู้รับเหมานำเหล็กเข้ามาหน้างาน คุณต้องตรวจสอบเหล็กอยู่บ่อยๆ เพราะอาจมีการนำเหล็กเต็มมาให้ดูในตอนแรก แต่พอเอาไปทำจริงๆ กลับใช้เหล็กไม่เต็มมาทำให้คุณ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมบ้านเราครับ ซุึ่งเราจะต้องตรวจสอบเบื้องต้นได้

ในการออกแบบสร้างโกดัง โรงงาน อาคารสำเร็จรูปHappywarehouse เรานำเข้าและใช้เหล็กรูปพรรณกัลวาไนท์ตามมาตรฐานโครงสร้างA36,SS400 ซี่งเป็นเหล็กความแข็งแรงสูงถึง 3500-4000 KSC (มาตรฐานประเทศไทย2500KSC) และมีหนังสือรับรอง ผลการทดสอบ จากสถาบันทดสอบค่าคุณสมบัติวัสดุ เพื่อให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่น ในการสร้างโกดัง โรงงาน อาคารสำเร็จรูปกับเรา Happy Warehouse

แหล่งที่มา : Page OneStockHome
https://www.onestockhome.com