ข้อแตกต่าง”โครงหลังคาเหล็ก VS โครงหลังคาสำเร็จรูป”

       ถัดจากโครงสร้างหลักในงานก่อสร้างบ้านหนึ่งหลัง ลำดับต่อไปคือการขึ้นโครงหลังคาซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยเช่นกัน ถึงแม้จะมีไว้เพื่อรับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคาและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ เท่านั้น แต่หากโครงหลังคาไม่แข็งแรงเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นขนาดที่เหมาะสม รวมถึงการเชื่อมต่อยึดติดให้แน่นหนา แน่นอนว่าจะส่งผลต่อผืนหลังคาตั้งแต่ปัญหาการรั่วซึมเล็กน้อยไปจนถึงอันตรายสูงสุดคือพังทลายลงมา

โครงหลังคาที่ใช้กันมากในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น “โครงหลังคาเหล็ก” รวมถึง “โครงหลังคาสำเร็จรูป” ที่กำลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งความแตกต่างด้านคุณสมบัติ มาตรฐาน และการใช้งานในลักษณะต่าง ๆ ก็มีอยู่พอสมควร การเลือกใช้จึงควรพิจารณาตามความเหมาะสมของหลังคาบ้านแต่ละรูปแบบ

สำหรับโครงหลังคาเหล็กที่ใครหลาย ๆ คนคุ้นเคยดีกับรูปแบบหน้าตัดเหล็กต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เหล็กกล่อง และเหล็กรูปตัวซี ซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านค้าเหล็กรูปพรรณต่าง ๆ จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้รับเหมา และช่างที่ชำนาญในงานเหล็ก เพราะเมื่อขาดเหลือระหว่างการทำงานก็วิ่งจัดหามาทำงานต่อได้ไม่ยาก แต่สิ่งหนึ่งที่ควรระวังคือเรื่องคุณภาพของเหล็ก เนื่องจากเหล็กที่หาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าทั่วไป

ส่วนใหญ่นั้นมักเป็นเหล็กรีดซ้ำ หรือเหล็กที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลที่เรียกกันว่า “เหล็กเบา” ซึ่งมีราคาประหยัด แต่มีประสิทธิภาพในการรับแรงด้อยกว่าเหล็กตามมาตรฐานที่เรียกว่า “เหล็กเต็ม” พอสมควร ดังนั้นจึงควรตรวจสอบเหล็กที่นำมาใช้ทำโครงหลังคา โดยสังเกตที่เครื่องหมาย มอก. หรือเครื่องหมายแสดงมาตรฐานอื่นๆ เช่น ASTM, BSI, JIS ฯลฯ ซึ่งจะระบุอยู่ที่เหล็กแต่ละท่อน

การติดตั้งโครงหลังคาเหล็กจะเป็นการติดตั้งหน้างานทั้งหมด และต้องอาศัยความชำนาญของช่างที่มีประสบการณ์มากพอสมควร จึงจะได้งานเชื่อมติดตั้งเหล็กที่แข็งแรง การเชื่อมเหล็กแต่ละท่อนให้ติดกันแบบที่เรียกว่า “การเชื่อมเต็ม” เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากไม่แพ้คุณภาพของเหล็ก โดยในขั้นตอนแรกของการเชื่อมเหล็กโครงหลังคาจะเป็น “การเชื่อมแต้ม” เพื่อยึดเหล็กแต่ละท่อนไว้ก่อนคร่าว ๆ เผื่อมีการแก้ไขจะได้เคาะแนวรอยเชื่อมเพื่อขยับตำแหน่งเหล็กได้ หลังจากนั้นจึงจะทำการเชื่อมเต็มหน้าตัดเหล็ก ซึ่งผู้ควบคุมงานควรตรวจสอบรอยเชื่อมทุกจุดว่าหนาแน่นเป็นเกล็ดปลาเรียบร้อยดีหรือไม่ โดยเจ้าของบ้านก็สามารถช่วยตรวจสอบในเบื้องต้นเองได้

ชิ้นส่วนโครงหลังคาสำเร็จรูปกัลวาไนซ์ตัดมาจากโรงงาน ติดตั้งโดยการยิงตะปูเกลียว

หลังคาทรงโค้งและรูปทรงเพิงแหงนจากโครงหลังคาเหล็ก
ขอบคุณภาพ :
– www.trendir.com
– www.hometrendesign.com

       ในขณะที่โครงหลังคาสำเร็จรูปมีลักษณะเป็นโครงถัก ซึ่งประกอบจากชิ้นส่วนเหล็กกัลวาไนซ์หลายท่อน จึงทำให้มีข้อจำกัดเรื่องรูปทรงหลังคาที่เหมาะสม ระยะชายคาที่ยื่นได้ไม่มากนัก รวมทั้งงานออกแบบโครงหลังคาสำเร็จรูปต้องอาศัยวิศวกรที่ผ่านการเรียนรู้เฉพาะทาง และต้องใช้บริการจากผู้ผลิตแต่ละรายโดยเฉพาะเท่านั้น

ทั้งนี้ สำหรับรูปทรงหลังคาที่พบเห็นกันได้ทั่วไป เช่น หน้าจั่ว ปั้นหยา ฯลฯ ซึ่งเป็นรูปทรงที่เหมาะกับการเลือกใช้ระบบโครงหลังคาสำเร็จรูป โดยหากเทียบกับโครงหลังคาเหล็กในกรณีที่มีรูปทรงหลังคาและวัสดุมุงหลังคาประเภทเดียวกันแล้ว จะช่วยประหยัดงบประมาณในการเตรียมขนาดโครงสร้างที่รองรับได้บ้าง และถึงแม้งบประมาณของระบบโครงหลังคาสำเร็จรูป ยังคงสูงกว่าค่าของและค่าแรงติดตั้งโครงหลังคาเหล็กอยู่พอสมควร แต่เพื่อแลกกับมาตรฐานและการรับประกันผลงานหลังการติดตั้งแล้วอาจถือได้ว่าคุ้มค่าอยู่ไม่น้อย

โครงหลังคาเหล็ก VS โครงหลังคาสำเร็จรูป

ไม่ว่าจะเป็น โครงหลังคาเหล็ก หรือ โครงหลังคาสำเร็จรูป สามารถออกแบบสำหรับการมุงหลังคาด้วยวัสดุต่าง ๆ ได้ทุกประเภท  หากแต่ควรเลือกใช้ให้เข้ากับการใช้งาน และรูปแบบหลังคาอย่างเหมาะสมด้วย

ควรเลือกใช้เหล็กโครงหลังคาที่มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม
ขอบคุณภาพ :
– www.teakdoor.com
– www.cotcometalworks.co.th

การเชื่อมเหล็ก / รอยเชื่อมเต็มแบบเกล็ดปลาที่ได้มาตรฐาน
ขอบคุณภาพ :
– www.pixpros.net (ช่างภาพ : qwerty673)
– www.flickr.com
– www.blog.themetalschool.com

       งานทาสีกันสนิมเหล็กก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องใส่ใจอย่างเข้มงวดเช่นกัน ตั้งแต่ก่อนติดตั้งที่ต้องทาสีให้ทั่วทุกด้านของผิวเหล็ก ยิ่งถ้าเป็นเหล็กกล่องอาจต้องมีการชุบสีกันสนิมเพื่อให้สีเคลือบผิวทั่วทั้งด้านใน และเมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วควรทาสีกันสนิมซ้ำอีกรอบ และเน้นบริเวณที่เป็นรอยเชื่อมเหล็กด้วย

อย่างไรก็ตาม ขนาดความยาวเหล็กที่มีจำหน่ายทั่วไปจะอยู่ที่ 6 เมตรเพื่อให้ขนส่งได้สะดวก โดยหากต้องการความยาวมากกว่านี้ก็สามารถสั่งพิเศษได้ ทั้งนี้ การสั่งเหล็กควรมีการคำนวณความยาวให้พอดีตามการใช้งานให้มากที่สุด เพื่อให้เหลือเศษน้อยที่สุด โดยเศษเหล็กที่เหลือสามารถนำไปขายเพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลต่อไป (ราคาจะถูกลงเกินครึ่ง)

ส่วนโครงหลังคาสำเร็จรูปจะผลิตจากเหล็กที่มีกำลังดึงสูง ผ่านการเคลือบผิวป้องกันสนิมด้วยกัลวาไนซ์ จึงมักเรียกกันติดปากว่า “โครงหลังคากัลวาไนซ์” และมีการเคลือบด้วยอะลูมิเนียมซิงค์ หรือแมกนีเซียมซิงค์ ที่มีคุณสมบัติและราคาที่สูงกว่า เหมาะสำหรับใช้งานในพื้นที่ที่มีปัจจัยกระทบต่อโครงเหล็กด้วย เช่น ในกรณีที่บ้านอยู่ใกล้ทะเล หรือบริเวณที่มีกรดเกลือสูง เป็นต้น ดังนั้นปัญหาเรื่องการขึ้นสนิมจึงหมดไปสำหรับงานโครงหลังคาสำเร็จรูป

การเตรียมโครงหลังคาสำเร็จรูปส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในโรงงาน โดยหลังจากที่ผู้ผลิตได้แบบหลังคาจากเจ้าของบ้าน หรือสถาปนิกแล้ว จะมีเจ้าหน้าที่ทำการวัดพื้นที่จริงจากหน้างานอีกครั้ง เพื่อนำไปออกแบบคำนวณขนาดและความยาวของโครงแต่ละท่อนโดยวิศวกร  เมื่อผลิตและตัดขนาดเหล็กแต่ละท่อนเรียบร้อยแล้วจึงนำไปประกอบที่หน้างานก่อสร้างโดยช่างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งเป็นการติดตั้งโดยใช้ตะปูเกลียว (สกรู) ยึดติดแต่ละท่อนเข้าด้วยกันตามที่ระบุไว้ในแบบเท่านั้น ไม่มีการเชื่อมเหล็กและเก็บงานกันสนิม สามารถทำได้รวดเร็วและแม่นยำ ดังนั้นการควบคุมมาตรฐานการผลิต และการติดตั้งโดยรวมจึงทำได้ง่ายกว่าโครงหลังคาเหล็ก อีกทั้งยังถือได้ว่าเป็นกระบวนการที่ช่วยลดปริมาณขยะจากงานก่อสร้างได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ดี โครงหลังคาเหล็กนั้นสามารถออกแบบให้เหมาะกับรูปทรงหลังคาต่าง ๆ สำหรับบ้านทุกสไตล์ได้ค่อนข้างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นทรงเหลี่ยม หรือทรงโค้ง (สามารถดัดโค้งได้) รวมถึงระยะยื่นของโครงสร้างเหล็กที่ยื่นได้ไกลตามความสามารถของเหล็กที่คำนวณไว้ ทำให้เกิดรูปแบบหลังคาที่หวือหวาท้าทายได้ตามต้องการ นอกจากนี้ การออกแบบคำนวณโครงหลังคาเหล็กนั้นสามารถทำได้โดยวิศวกรโครงสร้างทุกคนที่มีใบประกอบวิชาชีพ

โครงหลังคาสำเร็จรูปมีข้อจำกัดเรื่องรูปทรงหลังคา จึงเหมาะกับรูปทรงหลังคาปั้นหยาและหน้าจั่วที่พบเห็นได้ทั่วไป

ขอขอบคุณที่มา: https://www.scgbuildingmaterials.com/