ใช้งานทางหนีไฟอย่างไรให้ปลอดภัยและถูกวิธี !!!

ใช้งานทางหนีไฟอย่างไรให้ปลอดภัยและถูกวิธี !!!

“เส้นทางการหนีไฟ” มักจะเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงเสมอเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้เรามักจะได้ยินข่าวว่าประตูทางเข้าทางหนีไฟไม่สามารถเปิดใช้งานได้ เมื่อเข้าไปแล้วมีสิ่งของวางกีดขวาง มีแสงสว่างไม่เพียงพอ และเมื่อหนีไฟตามบันไดหนีไฟไปถึงพื้นราบแล้ว ปรากฏว่าประตูไม่สามารถเปิดออกได้ จึงทำให้เกิดเหตุการณ์น่าสลดขึ้นเป็นประจำ ดังนั้นการจัดให้มีบันไดหนีไฟและเส้นทางหนีไฟ ภายในพื้นที่ป้องกันเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เนื่องจากจำเป็นในการอพยพคนออกจากพื้นที่ในขณะเกิดเพลิงไหม้ โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ

1 บันไดหนีไฟ

ก. บันไดหนีไฟ จะต้องมีไม่น้อยกว่า 2 ชุด ภายในแต่ละชั้นของอาคาร โดยบันไดหนีไฟจะต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน 60 เมตร

ข. ประตูและผนังที่ปิดล้อมบันไดหนีไฟจะต้องสามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่า2 ชั่วโมง

ค. ภายในบันไดหนีไฟจะต้องมีการติดตั้งไฟส่องสว่างฉุกเฉิน เพื่อให้ส่องสว่างชั้นบันไดทำให้อพยพคนได้อย่างรวดเร็ว

ง. ต้องจัดให้มีป้ายแสดงรายละเอียดในการหนีไฟภายในบันไดหนีไฟทุกชั้นทุกบันไดหนีไฟ โดยรายละเอียดในป้ายนั้นจะต้องระบุชื่อชั้น ชื่อบันได และชื่อชั้นที่เป็นทางออกของบันไดหนีไฟ

จ. รายจับภายในบันไดหนีไฟควรจะต้องมีทั้ง 2 ด้าน และรายจับควรมีรูปร่างและขนาดที่มือสามารถยึดจับได้พอเหมาะ

ฉ. ภายในช่องบันไดหนีไฟจะต้องไม่มีการวางหรือเก็บของ ซึ่งทำให้การอพยพคนล่าช้าหรือได้รับอันตรายระหว่างการใช้บันไดหนีไฟ

2 ระยะทางของเส้นทางการหนีไฟ

เส้นทางการหนีไฟจะต้องมีระยะเส้นทางที่วัดตามแนวการเดิน โดยมีระยะห่างของวัตถุหรือสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 300 มิลลิเมตร จากตัวอย่างภาพที่ 1 แสดงแนวเส้นทางการหนีไฟทั้งสองแบบซึ่งมีระยะทางระยะทางการหนีไฟในการหนีไฟที่แตกต่างกัน

 

ภาพที่ 1 แสดงการวัดระยะทางในการหนีไฟ

ที่มา: NFPA 101 Life Safety Code (2003)

ระยะทางในการหนีไฟของแบบ ก มีความยาวกว่าแบบ ข เนื่องจากบันไดหนีไฟไม่มีการปิดล้อมโดยระยะทางการหนีไฟแบบ ก จะวัดระยะจากจุดที่ 1-2-3-4-5-6 ซึ่งรวมระยะจากบันไดหนีไฟถึงประตูหนีไฟไปนอกอาคารด้วย ส่วนระยะทางการหนีไฟแบบ ข จะวัดจากระยะจุดที่ 1-2-3-4-5 เท่านั้น สำหรับระยะทางการหนีไฟ ในพื้นที่การใช้ต่างๆ กันจะมีระยะทางที่แตกต่างกัน ดังรายละเอียดในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ระยะจำกัดของเส้นทางการหนีไฟของพื้นที่แต่ละประเภท

ประเภทการใช้งานในพื้นที่

ระยะจำกัดของเส้นทางการหนีไฟ (เมตร)

ไม่มีหัวกระจายน้ำดับเพลิง

มีหัวกระจายน้ำดับเพลิง

อาคารชุมนุมชน

ใหม่

เก่า

45

45

76

76

สำนักงาน

ใหม่

เก่า

60

60

91

91

โรงงานอุตสาหกรรม

ทั่วไป

เฉพาะ

อันตรายสูง

60

91

0

75

122

23

คลังเก็บสินค้า

อันตรายต่ำ

อันตรายปานกลาง

อันตรายสูง

ไม่จำกัด

60

23

ไม่จำกัด

122

30

ที่มา: NFPA 101 Life Safety Code (2003)

โดยคำนิยามของการแบ่งประเภทพื้นที่การใช้งานในตารางที่ 6 มีรายละเอียดดังนี้ คือ

1) อาคารชุมนุมชนและสำนักงาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คืออาคารเก่าที่มีอยู่เดิม และอาคารใหม่ที่กำลังก่อสร้าง

2) โรงงานอุตสาหกรรม สามารถแบ่งพื้นที่การใช้งานออกเป็น 3 ประเภท คือ

2.1 โรงงานทั่วไป คือ เป็นโรงงานที่มีวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการการผลิตและผลิตภัณฑ์ ที่ติดไฟหรือไม่ติดไฟ และเมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟจะไม่ลุกลามอย่างรวดเร็ว

2.2 โรงงานเฉพาะ คือโรงงานที่มีวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการการผลิตและผลิตภัณฑ์ ที่ติดไฟได้และไม่ติดไฟ และเมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟจะลุกลามในระดับปานกลาง โดยโรงงานประเภทนี้ ปกติจะมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอยู่น้อย แต่มีเครื่องจักรกลเป็นจำนวนมากและทำการควบคุมการทำงานโดยระบบควบคุมอัตโนมัติ

2.3 โรงงานที่อันตรายสูง คือ โรงงานที่มีวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ติดไฟและไวไฟ และเมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟจะลุกลามอย่างรวดเร็ว รวมทั้งสามารถเกิดการระเบิดได้

3) คลังเก็บสินค้า สามารถแบ่งพื้นที่การใช้งานออกเป็น 3 ประเภท คือ

3.1 ประเภทอันตรายต่ำ คือ สินค้าที่จัดเก็บไม่ติดไฟ หรือเมื่อมีเพลิงไหม้เกิดขึ้นไฟจะไม่ลุกลามอย่างรวดเร็ว

3.2 ประเภทอันตรายปานกลาง คือ สินค้าที่จัดเก็บติดไฟได้แต่เมื่อติดไฟแล้วจะมีการลุกลามในระดับปานกลาง

3.3 ประเภทอันตรายสูง คือ สินค้าที่จัดเก็บมีความสามารถในการติดไฟและระเบิดได้ เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วจะทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว

ทั้งหมดข้างต้นนี้ เป็นหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ที่ต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด แต่สำหรับผู้ใช้อาคารแล้วการที่แน่ใจว่าทางหนีไฟที่ถูกจัดสร้างขึ้นนั้น คงต้องใช้วิธีสังเกตเป็นหลัก ซึ่งมีหลักง่ายๆ คือ

1.บันไดหนีไฟทุกตัวจะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีอัตราการทนไฟของประตูไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ในจุดนี้เราจะเห็นว่าอาคารเกือบทั้งหมดจะใช้ประตูเหล็ก

2.อุปกรณ์ประตู จะต้องเป็นแบบผลักเท่านั้น

3.ราวบันไดก็ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน

นอกจากนี้ก็ต้องมีป้ายบอกทางหนีไฟ  มีป้ายบอกชั้น มีระบบอัดอากาศ กรณีเป็นบันไดหนีไฟที่อยู่ภายในตัวอาคาร 

อีกปัญหาหนึ่งของทางหนีไฟในอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ เกิดจากการที่ผู้ออกแบบไม่ได้ให้ความสำคัญกับการใช้งานของบันไดหนีไฟ ที่ต้องใช้งานได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ส่วนใหญ่จะออกแบบตามที่กฎหมายควบคุมอาคารกำหนดไว้เท่านั้น เป็นการออกแบบโดยการตีความตามกฎหมาย โดยไม่พิจารณาจุดประสงค์ของการใช้งานบันไดหนีไฟ จึงพบว่า มีบันไดหนีไฟและบันไดที่ไม่มีการปิดล้อม บันไดไม่ได้ขนาด การเปิดประตูขวางการหนีไฟ ไม่มีการป้องกันควันเข้าสู่บันได ประตูหนีไฟไม่ได้มาตรฐาน อย่างกรณีเหตุเพลิงไหม้ในหลายๆ โรงแรม จะพบว่าบันไดหนีไฟ กลางเป็นปล่องไฟ และเป็นช่องทางให้ควันไฟและความร้อนขึ้นสู่ชั้นต่างๆ ของอาคารได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ จากการสำรวจของกรุงเทพมหานคร และเทศบาลในจังหวัดต่างๆ พบว่า ยังมีอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ที่ไม่ปลอดภัยอยู่นับพันหลัง และยังพบว่าเกือบทั้งหมด มีบันไดและบันไดหนีไฟที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งอาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นอาคารเก่า และสร้างก่อนกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (2535) จะบังคับ จึงไม่ได้มาตรฐานและยากต่อการแก้ไขปรับปรุงให้ปลอดภัย 

การป้องกันอัคคีภัยแบบเชิงรับที่ได้กล่าวมาขั้นต้นนี้ เมื่ออาคารบ้านเรือนรวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ได้มีการจัดการการป้องกันอัคคีภัยแบบเชิงรับเป็นอย่างดี ถ้าหากเกิดเหตุการณ์อัคคีภัยขึ้นมาจะสามารถช่วยป้องกันไม่ให้ไฟและควันไฟลุกลามออกไปยังพื้นที่หรือห้องใกล้เคียงทำให้ไฟอยู่ภายในพื้นที่ที่จำกัดและเมื่อเชื้อเพลิงที่อยู่ภายในพื้นที่นั้นหมดลงไฟก็จะดับ สามารถลดความสูญเสียที่จะเกิดจากเหตุการณ์เลวร้ายทางด้านอัคคีภัยได้อย่างมากเลยทีเดียว

 

อ้างอิง

[1] National Fire Protection Association. 2001. NFPA 14 Standard for the Installation ofStandpipe and Hose Systems 2001 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.

[2] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 20 Standard for the Installation of Stationary Pumps for Fire Protection 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.

[3] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 25 Standard for the Inspection, Testing, and Maintenance of Water-Based Fire Protection Systems 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts. 180

[4] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 2003 Standard for the Inspection,Testing, and Maintenance of Water-Based Fire Protection Systems 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.

[5] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 30 Flammable and Combustible Liquids Code 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.

[6] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 101 Life Safety Code 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.

[7] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 5000 Building Construction and Safety Code 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.

[8] National Fire Protection Association. 2004. NFPA 2001 Standard on Clean Agent Fire Extinguishing Systems 2004 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.

[9] National Fire Protection Association. 2005. NFPA 70 National Electrical Code 2005 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.

[10] McGrattan, K. and G. Forney. 2004. Fire Dynamics Simulator (Version 4) User’s Guide. National Institute of Standards and Technology, Gaithersburg, MD.

[11] Trevits, M.A., Yuan, L., Smith, A.C., Thimons, E.D., Goodman, G.V. 2009. The Statusof Mine Fire Research in the United States. National Institute for Occupational Safety and Health, Pittsburgh Research Laboratory, Pittsburgh, PA.

[12] George W. AMholland . Smoke Production and Properties. SFPE Handbook of Fire Protection Engineering SFPE Handbook of Fire Protection Engineering, 2nd Edition, Chapter 15, Section 2, 217-227