เทคนิคบ่มคอนกรีตให้พื้นแกร่ง สร้างบ้านใหม่ให้แข็งแรงอยู่นาน

การสร้างบ้านใหม่ทั้งเจ้าของบ้านและผู้รับเหมาก่อสร้าง ต่างก็อยากให้บ้านเสร็จสมบูรณ์ในระยะเวลาอันสั้น เพราะอาจมีผลดีในแง่ของการประหยัดในส่วนของค่าแรง สามารถย้ายเข้าอยู่ได้โดยไม่ต้องรอนาน แต่อาจก่อให้เกิดผลเสียเช่นเดียวกันหากเร่งรีบเกินไปจนทำให้ขั้นตอนในการก่อ สร้างต่างๆ ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่เหมาะสม จนอาจส่งผลต่อความแข็งแรงของบ้านในอนาคตได้
ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่เจ้าของบ้านมักจะสอบถามมาเสมอคือ เรื่องของระยะเวลาในการรอคอนกรีตเซทตัว ? การบ่มคอนกรีตคืออะไร ? มีความจำเป็นแค่ไหน ? ต้องทิ้งไว้นานเท่าไหร่จึงจะสามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้ ? วันนี้เราจะมาขยายความเรื่องนี้กัน

ที่มาภาพ: http://www.homedsgn.com/

สำหรับการสร้างบ้านใหม่ หัวใจหลักประการหนึ่งที่สำคัญคือเรื่องของโครงสร้างบ้าน ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะใช้คอนกรีตในการก่อสร้าง หรือที่เรามักจะเรียกกันจนเคยปากว่า “โครงสร้างปูน” ข้อดีของโครงสร้างปูนอย่างที่เราทราบกันดีคือเป็นวัสดุที่ช่างคุ้นเคย หาซื้อได้สะดวก ราคาไม่สูงจนเกินไปอีกทั้งไม่ต้องการการดูแลรักษามากนัก
แต่ข้อจำกัดของโครงสร้างปูนคือใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างนาน เพราะต้องรอเวลาให้คอนกรีตเซทตัวตลอดจนต้องบ่มคอนกรีตเพื่อให้คอนกรีตรับ กำลังอัดได้อย่างเหมาะสม ซึ่งต้องใช้เวลาสูงสุดประมาณ 28 วันเลยทีเดียว
สำหรับขั้นตอนในการเทคอนกรีตที่เหมาะสมนั้น หลังจากที่มีการเทคอนกรีตเรียบร้อยแล้ว ควรมีระยะเวลาให้คอนกรีตได้เซทตัวเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรับแรง และสามารถดำเนินการในขั้นต่อๆ ไปได้  ทั้งนี้ระยะเวลาในการถอดแบบและค้ำยันนั้นจะช้าหรือเร็วนั้น จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อาทิเช่น
– คุณสมบัติของปูนซีเมนต์ ส่วนผสมของคอนกรีต
– ความสำคัญของโครงสร้าง ชนิดและขนาดของโครงสร้าง
– น้ำหนักที่กระทำต่อโครงสร้าง
– อุณหภูมิ และอื่นๆ ประกอบกัน
นอกจากนี้กระบวนการสำคัญอีกหนึ่งที่เราต้องดำเนินการ เพื่อให้การเซทตัวของปูนมีประสิทธิภาพหลังจากการเทคอนกรีตเรียบร้อยแล้ว นั่นก็คือต้อง “ทำการบ่มคอนกรีตทันที” หลังจากเสร็จสิ้นการแต่งหน้าคอนกรีตและคอนกรีตเริ่มจะมีการแข็งตัว
การบ่มคอนกรีต เป็นวิธีการช่วยให้ปฏิกริยาไฮเดรชั่น ของปูนซีเมนต์เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์เพื่อพัฒนาด้านกำลังและความคงทน โดยการบ่มที่ดีต้องป้องกันการระเหยของน้ำและลดการสูญเสียความชื้นในเนื้อ คอนกรีต ซึ่งก็มีอยู่หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น
– การใช้วิธีฉีดหรือพรมน้ำแล้วใช้กระสอบคลุมจากนั้นราดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ
– เลือกใช้สารประกอบทางเคมีพ่นเป็นเยื่อบางๆ คลุม

 

ตัวอย่างการบ่มคอนกรีตโดยใช้พลาสติกคลุม เพื่อป้องกันน้ำระเหยออกจากผิวคอนกรีต
ที่มาภาพ: http://markhamglobal.com , http://www.hellotrade.com

ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่บ่มคอนกรีต หรือบ่มในระยะเวลาไม่เหมาะสม คือ จะทำให้คอนกรีตมีประสิทธิภาพในการรับแรงที่ต่ำกว่าที่ควร อาจทำให้สารเคมีหรือสารอันตรายต่างๆ ซึมเข้าสู่เนื้อคอนกรีตง่ายขึ้น ส่งผลให้เหล็กเสริมเป็นสนิมได้ง่าย ทำให้คอนกรีตเกิดการแตกร้าวและเสียหายในที่สุด โดยระยะเวลาในการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสมสามารถแบ่งได้ตามประเภทปูน และประเภทของงานก่อสร้างต่างๆ ได้ ดังนี้
ระยะเวลาในการบ่มคอนกรีต
สำหรับระยะเวลาในการถอดแบบและถอดค้ำยันที่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทปูนที่ใช้และตำแหน่งของส่วนประกอบต่างๆที่ทำการเทคอนกรีต โดยระยะเวลาการเซทตัวของคอนกรีตสูงสุดหรือเวลาที่โครงสร้างสามารถรับน้ำหนัก ได้เต็มที่จะอยู่ประมาณ 28 วัน
ส่วนระยะเวลาในการถอดแบบที่เหมาะสมในบริเวณต่างๆ จะเป็นตามตาราง ซึ่งหากต้องการจะถอดแบบหรือค้ำยันออกเร็วกว่าที่กำหนดไว้นั้น ต้องมีควรตรวจสอบกำลังในการรับแรงของคอนกรีตว่าได้ประสิทธิภาพตามที่ออกแบบ ไว้แล้วหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย

ในส่วนของการดำเนินงานในชั้นต่อๆ ไปนั้นก็เช่นกัน ตามปกติควรรอประมาณ 14-21 วัน เพื่อให้คอนกรีตมีกำลังในการรับแรงที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยหากต้องการให้เร็วกว่านั้นก็ควรปรึกษาวิศวกร

จะเห็นได้ว่าประเภทปูนที่ใช้ในการก่อสร้างนั้น มีผลต่อระยะเวลาในการก่อสร้างเช่นกัน ซึ่งหากเจ้าของบ้านต้องการความรวดเร็วในการก่อสร้าง สามารถทำได้ ดังนี้
 เลือกใช้ปูนประเภทรับกำลังอัดเร็ว
จะช่วยย่นระยะเวลาในการบ่มและระยะเวลาที่ต้องรอคอนกรีตเซทตัวให้ลดลงได้
เพิ่มสารเร่งการก่อตัว (Accelerators)
ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีตให้สั้นลงและช่วยเร่ง กำลังอัดช่วงต้นให้สูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ปูนประเภทนี้มักถูกนำไปใช้ในงานก่อสร้างที่เร่งด่วน เช่น งานที่ต้องการถอดแบบเร็ว, งานหล่อชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่ต้องหมุนเวียนแบบหล่อ, งานซ่อมแซมโครงสร้างหรือพื้นผิวจราจรที่ต้องเปิดใช้งานเร่งด่วน

ซึ่งทั้งหมดนี้หากต้องการเพิ่มสารเร่งการก่อตัวของคอนกรีตต้องแจ้งทางโรงงาน เพื่อทำการใส่ส่วนผสมดังกล่าวให้เหมาะสมกับงานก่อสร้างนั้นๆ
อย่างที่โบราณว่าไว้ เวลาและวารีไม่เคยคอยใคร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินบางทีความรวดเร็ว อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายเสมอไป ท่านผู้อ่านว่าจริงหรือไม่

 

ระยะเวลาในการบ่มคอนกรีต

อายุขั้นต่ำของคอนกรีตสำหรับการถอดแบบหล่อและค้ำยันของโครงสร้างทั่วไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.cpacacademy.com

เครดิตข้อมูลดีๆจาก:https://www.scgbuildingmaterials.com