ภาษาช่าง”น้ำหนักบรรทุกคงที่”

เรื่อง: SCG Experience

ศัพท์คนสร้างบ้าน น้ำหนักบรรทุกคงที่

       น้ำหนักบรรทุกคงที่ (Dead Load) คือ น้ำหนักที่กระทำอยู่กับที่ ตายตัว และไม่เปลี่ยนแปลงค่า ซึ่งได้แก่ โครงสร้างอาคารส่วนต่าง ๆ และสิ่งที่ติดอยู่กับอาคารอย่างถาวร เช่น เสา คาน พื้น ผนังก่อ (ผนังหนักผนังเบา  โครงหลังคา วัสดุมุงหลังคา ประตู หน้าต่าง วัสดุปูพื้น-ผนัง อ่างอาบน้ำ เป็นต้น โดยน้ำหนักของแต่ละส่วนจะขึ้นอยู่กับประเภทวัสดุที่เลือกใช้ มีหน่วยเป็น “กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร” หรือ “กิโลกรัมต่อตารางเมตร” ดังตารางตัวอย่าง

ภาพ: ตารางแสดงตัวอย่างค่าน้ำหนักของวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของน้ำหนักบรรทุกคงที่
ภาพ: โครงสร้างอาคารจัดเป็นน้ำหนักบรรทุกคงที่
       จากตาราง สมมติว่าบ้านหนึ่งหลังประกอบด้วยโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐมอญฉาบปูน โครงหลังคากัลวาไนซ์ มุงกระเบื้องหลังคาคอนกรีต และวัสดุประกอบอื่น ๆ วิศวกรจะคำนวณน้ำหนักอาคารทั้งหมด เพื่อออกแบบรูปแบบและขนาดของโครงสร้างที่เหมาะสม โดยเผื่อน้ำหนักบรรทุกจรตามประเภทการใช้งานอาคารด้วย
สำหรับอาคารที่มีเครื่องจักร หรือลิฟต์ ที่สร้างแรงสั่นสะเทือนแก่โครงสร้างอาคารและส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ตามกฎหมายจะกำหนดให้เพิ่มค่าน้ำหนักบรรทุกคงที่ขึ้นอีกตามความเหมาะสม โดยมีเอกสารรับรองผลการทดสอบจากสถาบันที่เชื่อถือได้ หรือตามตารางต่อไปนี้
ภาพ: ตารางแสดงอัตราเพิ่มค่าน้ำหนักบรรทุกคงที่ในอาคารที่มีชิ้นส่วนโครงสร้างที่เกิดแรงสั่นสะเทือนแก่ส่วนต่าง ๆ
ที่มา: https://www.scgbuildingmaterials.com/