ปูนซีเมนต์เป็นอย่างไร?

การเลือกใช้ปูนซีเมนต์

การก่อสร้างอาคารโรงงาน บ้านเรือน  ถนนหนทาง สะพาน  หรือแม้แต่เขื่อนกั้นน้ำต่างๆ  หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ  ไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ล้วนแต่ต้องใช้ปูนซีเมนต์เป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น ปูนซีเมนต์ที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้  ก็มีอยู่มากมายหลายประเภทซึ่งคุณสมบัติต่างๆ ก็แตกต่างกันออกไป เพื่อให้เหมาะกับงานก่อสร้างแต่ละประเภท

ปูนซีเมนต์เป็นอย่างไร ?

ปูนซีเมนต์หรือปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ จัดเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเซรามิกส์ประเภทหนึ่ง โดยใช้เป็นส่วนผสมหลักในคอนกรีตสำหรับงานก่อสร้าง ทำหน้าที่ประสานวัสดุในคอนกรีต เช่น หินหรือทรายให้เป็นเนื้อเดียวกัน โดยวัตถุดิบสำคัญในการผลิตปูน แบ่งเป็นวัตถุดิบเนื้อปูน วัตถุดิบเนื้อดิน วัตถุดิบปรับคุณภาพ และสารเติมแต่ง มีดังนี้

1. วัตถุดิบเนื้อปูน วัตถุดิบเนื้อปูนที่ใช้กันหลัก ๆ ได้แก่ หินปูน ดินสอพอง หินอ่อน จะสังเกตได้ว่าวัตถุดิบในกลุ่มนี้จะเป็นสารเคมีกลุ่มแคลเซียมคาร์บอเนต CaCo3   ซึ่งใช้กันแพร่หลายกันในอุตสาหกรรม

2. วัตถุดิบเนื้อดิน วัตถุดิบเนื้อดินที่นิยมใช้กันเป็นหลักในกลุ่มนี้ จะเป็นสารประกอบเคมีที่มีองค์ประกอบหลักเป็นซิลิกา เช่น ซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) นอกจากนี้ยังมีอะลูมิเนียมไดออกไซด์ (Al2O3) และเฟอริกออกไซด์ (Fe2O3) ผสมอยู่ด้วย ซึ่งพบได้ในหินดินดาน

3. วัตถุดิบปรับคุณภาพ ใช้เมื่อมีองค์ประกอบทางเคมีบางอย่างต่ำ เช่น เมื่อวัตถุดิบมีองค์ประกอบของอะลูมิเนียมออกไซด์น้อย ก็จะเติมแร่บอกไซด์ ( Al2O3.2H2O) หรือในกรณีที่มีองค์ประกอบของเฟอริกออกไซด์น้อยก็จะเติมแร่เหล็กหรือเศษเหล็กลงไป

4. สารเติมแต่ง สารเติมแต่งที่ใช้ในปูนคือ แร่ยิปซัม เพราะแร่ยิปซัมจะทำให้เนื้อปูนแห้งช้า หรือหน่วงเวลาให้แข็งเป็นรูปช้าลง

ประเภทของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์

ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ แบ่งเป็น 5 ประเภท ตามมาตารฐานการผลิตของ อเมริกา อังกฤษและตามมาตรฐานของ มอก. ของประเทศไทยได้ดังนี้

1. ปูนซีเมนต์สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป ใช้กับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก เช่น ทำผิวถนน สะพาน ท่อระบายน้ำ แต่ไม่เหมาะกับสารเคมีในกลุ่มเกลือซัลเฟตซึ่งมีคุณสมบัติเป็นด่าง

2. ปูนซีเมนต์ดัดแปลง มีคุณสมบัติในการคายความร้อนออกมาน้อยกว่าปูนซีเมนต์สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป เหมาะสำหรับงานโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น ตอม่อ เขื่อน หรือกำแพงกันดินในบริเวณที่ถูกน้ำเค็มเป็นครั้งคราว เนื่องจากมีความทนต่อเกลือซัลเฟตที่มีคุณสมบัติเป็นด่างได้

3. ปูนซีเมนต์ละเอียด ปูนซีเมนต์ประเภท 3 นี้มีความละเอียด ทำให้แข็งตัวและรับแรงได้ค่อนข้างเร็ว ทำให้นิยมนำไปใช้ในการสร้าง คอนกรีตอัดแรง เสาเข็ม พื้นถนน ซึ่งเป็นงานเร่งด่วนและต้องการกำลังที่รวดเร็ว

4. ปูนซีเมนต์ที่มีอัตราความร้อนต่ำ ทำให้เกิดกำลังของคอนกรีตที่ช้า มีส่วนช่วยในการลดการแตกร้าวของคอนกรีตได้ ทำให้นิยมใช้สร้างเขื่อนที่ต้องรองรับปริมาณน้ำที่มาก

5. ปูนซีเมนต์ที่มีต้านทานความเป็นด่าง เหมาะกับงานก่อสร้างบริเวณที่มีน้ำทะเลหรือ ดินเค็ม เพระมีคุณสมบัติทนเกลือสซัลเฟตได้สูง

นี่เป็นชนิดของปูนที่มีการใช้งานอยู่ ซึ่งอาจจะดูเป็นเรื่องยากสักหน่อยในการใช้งานของเจ้าของบ้าน แต่นอกจากนี้ ยังมีปูนที่เราสามารถแบ่งเป็นชนิดย่อยๆ ตามการใช้งานได้อีกหลายชนิด เช่น…

ปูนฉาบสำเร็จรูป ซึ่งมีการผสมทรายละเอียดลงไปในเนื้อปูน สามารถผสมน้ำแล้วใช้ทำงานฉาบได้ทันที

ปูนฉาบผิวบาง เป็นปูนสำหรับใช้ซ่อมแซมผิวคอนกรีตที่เสียหาย หรือใช้ฉาบแต่งผนังคอนกรีตสำเร็จรูป

ปูนฉาบละเอียด เป็นปูนที่มีเอาฉาบแต่งหน้า มีเนื้อปูนที่เนียนเป็นพิเศษ ใช้แต่งหน้าเพื่อเก็บรายละเอียดของงานทำให้งานออกมาสวยงามมากขึ้น

ปูนกาว หรือ กาวซีเมนต์ เป็นปูนสำหรับใช้ยึดติดกระเบื้องกับผนังหรือพื้น มีความเหนียวและยึดเกาะสูง

ปูนเกร๊าท์ จริงปูนชนิดนี้จัดอยู่ในประเภทเคมีภัณฑ์มากกว่า แต่ก็ยังเรียกได้ว่าเป็นปูน นิยมใช้ในงานการซ่อมแซม

ปูนซ่อมเอนกประสงค์ เป็นปูนที่จัดอยู่ในประเภทใช้ซ่อมแซม ใช้สำหรับซ่อมรอยแตกร้าวของผนัง คาน เสา หรือแม้แต่พื้นก็สามารถใช้งาน ใช้สะดวกมากเพียงผสมน้ำก็ใช้งานได้แล้ว

นี่เป็นปูนประเภทต่างๆ ที่เราควรทำความรู้จัก เพื่อที่จะได้สามารถเลือกซื้อเลือกใช้ได้ตามประเภทงานที่เราต้องการ และสามารถร่วมตัดสินใจในการเลือกสั่งซื้อวัสดุ ร่วมกับ หรือ ผู้รับเหมา เพื่อให้เราได้วัสดุที่เหมาะสมกับงานที่เราต้องการมากที่สุด ดังนั้น ก่อนการก่อสร้าง ตรวจหรือถามผู้ออกแบบ ว่า ใช้ปูนชนิดใด

ที่มา : http://thaihow.tripod.com

ที่มา http://houzzmate.com