ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับมาตรฐานเหล็ก ในการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับอาคาร

ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับมาตรฐานเหล็ก
มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรมได้ก าเนิดมาหลายมาตรฐาน เนื่องจากประเทศบริวารในเครือของตนเองหรือ
ประเทศที่มีการจัดการอุตสาหกรรมแบบเดียวกันยอมรับและน าไปใช้ ซึ่งปรากฎว่าในปัจจุบันมีมาตรฐานเหล็ก
อุตสาหกรรมที่นิยมน ามาใช้งานกัน มี 3 มาตรฐาน คือ
1. ระบบอเมริกัน AISI ( American Iron and Steel Institute )
การก าหนดมาตรฐานแบบนี้ ตัวเลขดัชนีจะมีจ านวนหลักและตัวชี้บอกส่วนประสมจะเหมือนกับระบบ
SAE จะต่างกันตรงที่ระบบ AISI จะมีตัวอักษรน าหน้าตัวเลข ซึ่งตัวอักษรนี้จะ บอกถึงกรรมวิธีการผลิตเหล็กว่า
ได้ผลิตมาจากเตาชนิดใด
ตัวอักษรที่บอกกรรมวิธีการผลิตเหล็กจะมีดังนี้
A คือ เหล็กประสมที่ผลิตจากเตาเบสเซมเมอร์ ( Bessemer ) ชนิดที่เป็นด่าง
B คือ เหล็กประสมที่ผลิตจากเตาเบสเซมเมอร์ ( Bessemer ) ชนิดที่เป็นกรด
C คือ เหล็กที่ผลิตจากเตาโอเพ็นฮารท์ ( Open Hearth ) ชนิดที่เป็นด่าง
D คือ เหล็กที่ผลิตจากเตาโอเพ็นฮารท์ ( Open Hearth ) ชนิดที่เป็นกรด
E คือ เหล็กที่ผลิตจากเตาไฟฟ้า
2. ระบบเยอรมัน DIN (Deutsch Institute Norms)
การจ าแนกประเภทของเหล็กตามมาตรฐานเยอรมันจะแบ่งเหล็กออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
2.1 เหล็กกล้าคาร์บอน (หรือเหล็กไม่ประสม)
2.2 เหล็กกล้าผสมต่ า
2.3 เหล็กกล้าผสมสูง
2.4 เหล็กหล่อ
เหล็กกล้าคาร์บอน (หรือเหล็กไม่ประสม)
เหล็กที่น าไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกรรมวิธีปรับปรุงคุณสมบัติโดยใช้ความร้อน ( Heat
Treatment) เหล็กพวกนี้จะบอกย่อค าหน้าว่า St.และจะมีตัวเลขตามหลัง ซึ่งจะบอกถึงความสามารถที่จะทน
แรงดึงสูงสุดของเหล็กชนิดนั้น มีหน่วยเป็น ก.ก/มม.2
หมายเหตุ การก าหนดมาตรฐานทั้งสองนี้ เหล็กที่มีความเค้นแรงดึงสูงสุดประมาณ 37 ก.ก/มม.2 จะ
สามารถใช้สัญลักษณ์แทนเหล็กชนิดนี้ได้ 2 ลักษณะ คือ เขียนเป็น St. หรือ C20
การก าหนดมาตรฐานเหล่านี้จะเห็นมากในแบบสั่งงาน ชิ้นส่วนบางชนิดต้องน าไปชุบแข็งก่อนใช้งาน ก็
จะก าหนดวัสดุเป็น C น าหน้า ส่วนชิ้นงานที่ไม่ต้องน าไปชุบแข็ง ซึ่งน าไปใช้งานได้เลยจะก าหนดวัสดุเป็นตัว
St. น าหน้า ทั้ง ๆ ที่วัสดุงานทั้งสองชิ้นนี้ใช้วัสดุอย่างเดียวกันเหล็กกล้าผสมต่ า การก าหนดมาตรฐานเหล็ก
ประเภทนี้จะบอกจ านวนคาร์บอนไว้ข้างหน้าเสมอ แต่ไม่นิยมเขียนตัว C ก ากับไว้ ตัวถัดมาจะเป็นชนิดของ
โลหะที่เข้าไปประสม ซึ่งอาจมีชนิดเดียวหรือหลายชนิดก็ได้
ข้อสังเกต เหล็กกล้าประสมต่ าตัวเลขที่บอกปริมาณของโลหะประสมจะไม่ใช่จ านวนเปอร์เซ็นต์ที่
แท้จริงของโลหะประสมนั้นการที่จะทราบจ านวนเปอร์เซ็นต์ที่แท้จริงจะต้องเอาแฟกเตอร์ (Factor) ของโลหะ
ประสมแต่ละชนิดไปหารซึ่งค่าแฟกเตอร์ (Factor) ของโลหะประสมต่าง ๆ มีดังนี้
หารด้วย 4 ได้แก่ Co, Cr, Mn, Ni, Si, W
หารด้วย 10 ได้แก่ Al, Cu, Mo, Pb, Ti, V
หารด้วย 100 ได้แก่ C, N, P, S
ไม่ต้องหาร ได้แก่ Zn, Sn, Mg, Fe
การใช้สัญลักษณ์ดังตัวอย่างที่แล้ว เป็นการบอกส่วนผสมในทางเคมี แต่ในบางครั้งจะมีการเขียน
สัญลักษณ์บอกกรรมวิธีการผลิตไว้ข้างหน้าอีกด้วย เช่น
B = ผลิตจากเตาเบสเซมเมอร์
E = ผลิตจากเตาไฟฟ้าทั่วไป
F = ผลิตจากเตาน้ ามัน
I = ผลิตจากเตาไฟฟ้าชนิดเตาเหนี่ยวน า (Induction Furnace)
LE = ผลิตจากเตาไฟฟ้าชนิดอาร์ค (Electric Arc Furnace)
M = ผลิตจากเตาซีเมนต์มาร์ติน หรือ เตาพุดเดิล
T = ผลิตจากเตาโทมัส
TI = ผลิตโดยกรรมวิธี (Crucible Cast Steel)
W = เผาด้วยอากาศบริสุทธิ์
U = เหล็กที่ไม่ได้ผ่านการก าจัดออกซิเจน (Unkilled Steel)
R = เหล็กที่ผ่านการก าจัดออกซิเจน (Killed Steel)
RR = เหล็กที่ผ่านการก าจัดออกซิเจน 2 ครั้ง
นอกจากนี้ยังมี สัญลักษณ์แสดงคุณสมบัติพิเศษของเหล็กนั้นอีกด้วย เช่น
A = ทนต่อการกัดกร่อน
Q = ตีขึ้นรูปง่าย
X = ประสมสูง
Z = รีดได้ง่าย
เหล็กกล้าผสมสูง (High Alloy Steel) เหล็กกล้าประสมสูง หมายถึงเหล็กกล้าที่มีวัสดุผสมอยู่ในเนื้อ
เหล็กเกินกว่า 8 % การเขียนสัญลักษณ์ของเหล็กประเภทนี้ เขียนน าหน้าด้วยต้ว X ก่อน แล้วตามด้วย
จ านวนส่วนผสมของคาร์บอนจากนั้นด้วยชนิดของโลหะประสม ซึ่งจะมีชนิดเดียวหรือชนิดก็ได้ แล้วจึงตามด้วย
ตัวเลขแสดงปริมาณของโลหะประสม
ตัวเลขที่แสดงปริมาณของโลหะประสม ไม่ต้องหารด้วย แฟกเตอร์ (Factor) ใด ๆ ทั้งสิ้น(แตกต่างจาก
โลหะประสมต่ า) ส่วนคาร์บอนยังต้องหารด้วย 100 เสมอ
3. ระบบญี่ปุ่น JIS (Japaness Industrial Standards)
การจ าแนกประเภทของเหล็กตามมาตรฐานญี่ปุ่นซึ่งจัดวางระบบโดยส านักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม
ญี่ปุ่น (Japaness Industrial Standards, JIS) จะแบ่งเหล็กตามลักษณะงานที่ใช้
ตัวอักษรชุดแรก จะมีค าว่า JIS หมายถึง Japaness Industrial Standards ตัวอักษรสัญลักษณ์ตัวถัด
มาจะมีได้หลายตัวแต่ละตัวหมายถึงการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น
A งานวิศวกรรมก่อสร้างและงานสถาปัตย์
B งานวิศวกรรมเครื่องกล
C งานวิศวกรรมไฟฟ้า
D งานวิศวกรรมรถยนต์
E งานวิศวกรรมรถไฟ
F งานก่อสร้างเรือ
G โลหะประเภทเหล็กและโลหะวิทยา
H โลหะที่มิใช่เหล็ก
K งานวิศวกรรมเคมี
L งานวิศวกรรมสิ่งทอ
M แร่
P กระดาษและเยื่อกระดาษ
R เซรามิค
S สินค้าที่ใช้ภายในบ้าน
T ยา
W การบิน
ถัดจากตัวอักษรจะเป็นตัวเลขซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 ตัว มีความหมายดังนี้ ตัวเลขตัวแรก หมายถึง กลุ่ม
ประเภทของเหล็ก เช่น
0 เรื่องทั่ว ๆ ไป การทดสอบและกฎต่าง ๆ
1 วิธีวิเคราะห์
2 วัตถุดิบ เหล็บดิบ ธาตุประสม
3 เหล็กคาร์บอน
4 เหล็กกล้าประสม
ตัวเลขตัวที่ 2 จะเป็นตัวแยกประเภทของวัสดุในกลุ่มนั้น เช่น ถ้าเป็นในกรณีเหล็ก จะมีดังนี้
1 เหล็กกล้าประสมนิเกิลและโครเมียม
2 เหล็กกล้าประสมอลูมิเนียมแลโครเมียม
3 เหล็กไร้สนิม
4 เหล็กเครื่องมือ
8 เหล็กสปริง
9 เหล็กกล้าทนการกัดกร่อนและความร้อน
ตัวเลขที่เหลือ 2 หลักสุดท้ายจะเป็นตัวแยกชนิดของส่วนผสมที่มีอยู่ในวัสดุนั้น เช่น ถ้าเป็นเหล็ก
ตัวเลข 2 หลักสุดท้ายจะเป็นตัวแยกชนิดเหล็กตาม ส่วนผสมธาตุที่มีอยู่ในเหล็กชนิดนั้น ๆ เช่น
01 เหล็กเครื่องมือ คาร์บอน
03 เหล็กไฮสปีด
04 เหล็กเครื่องมือประสม
4. มาตรฐาน ASTM
ที่ผ่านการรับรองของสมาคมฯ และประกาศใช้เป็นมาตรฐาน สามารถแบ่งตามเนื้อหา ออกได้เป็น
ประเภทต่างๆ ดังนี้
Classification เป็นมาตรฐานของ ระบบการจัดการ และการจัดแบ่ง วัสดุผลิตภัณฑ์ การบริการ
ระบบ หรือการใช้งาน ออกเป็นกลุ่มๆ โดยอาศัยคุณลักษณะ ที่เหมือนกัน เช่น แหล่งก าเนิด ส่วนประกอบ
คุณสมบัติหรือประโยชน์ใช้สอย
Specification เป็นข้อก าหนดที่ระบุแน่นอน ถึงคุณลักษณะและสมบัติต่างๆ ที่ต้องการของวัสดุ
ผลิตภัณฑ์ ระบบหรือการใช้งาน ข้อก าหนดเหล่านี้ มักจะแสดงค่าเป็นตัวเลข และมีข้อจ ากัดก าหนดไว้ พร้อม
ทั้งวิธีหาค่าเหล่านั้นด้วย
Terminology เป็นเอกสารมาตรฐาน ที่ก าหนดค านิยาม คุณลักษณะ ค าอธิบายของศัพท์ต่างๆ
เครื่องหมาย ตัวย่อ ค าย่อที่ใช้ในมาตรฐานต่างๆ
Test method เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับกรรมวิธี ที่ก าหนดให้ใช้ในการตรวจสอบ พิสูจน์วัด และปริมาณ
คุณภาพ คุณลักษณะ คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างของวัสดุ ระบบหรือ การใช้งาน ซึ่งมีผลการ
ทดสอบ ที่สามารถน าไปใช้ ในการประเมินค่าตามข้อก าหนด
Guide เป็นค าแนะน า หรือทางเลือก ให้ผู้ใช้เลือกใช้เทคนิคต่างๆ ที่มีอยู่ รวมทั้งสิ่ง ที่จะได้จากการ
ประเมิน และการมาตรฐานที่ใช้นั้นๆด้วย
Practice เป็นวิธีการปฏิบัติเฉพาะ ส าหรับงานเฉพาะอย่าง ได้แก่ การเขียนรายงาน การสุ่มตัวอย่าง
ความแม่นย า ความละเอียด การเลือก การเตรียม การประยุกต์ การตรวจสอบ ข้อควรระวังในการใช้ การ
ก าจัดทิ้ง การติดตั้ง การบ ารุงรักษา ตลอดจนการใช้เครื่องมือทดสอบ
นอกจากนี้ ASTM มีการจัดแบ่งมาตรฐานออกเป็นกลุ่มๆ เฉพาะเรื่อง โดยใช้ตัวอักษร เป็นสัญลักษณ์
แทนกลุ่มของเนื้อเรื่อง เรียงตามล าดับดังนี้
A : Ferrous Metals
B : Nonferrous Metals
C : Cementitious, Ceramic, Concrete, and Masonry Meterials
D : Miscellaneous Materials
E : Miscellaneous Subjects
F : Materials for Specific Applications
G : Corrosion, Deterioration, and Degradation of Materials
เดิม ASTM ได้แบ่งประเภทมาตรฐาน ตามลักษณะการก าหนดมาตรฐาน ออกเป็น 3 ชนิดคือ
Standards เป็นมาตรฐานที่จัดท าขึ้น ตามมติเอกฉันท์ของสมาชิก และผ่านการรับรองตามขั้นตอน
และกฎของสมาคมฯ เรียบร้อยแล้ว
ES.(Emergency Standard) เป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ตามความต้องการ เร่งด่วน แต่ยังไม่ผ่านการ
รับรองของสมาคมฯ เพียงแต่ผ่านการพิจารณา ของคณะอนุกรรมการบริหาร
P. (Proposal) เป็นเอกสารมาตรฐานที่พิมพ์เพื่อเผยแพร่ แนะน า ก่อนที่จะพิจารณาลงมติ ให้ใช้เป็น
มาตรฐาน
แต่ในปี ค.ศ. 1995 สมาคม ASTM ได้ก าหนดให้ใช้ PS. (Provisional Standards) ซึ่งเป็นเอกสาร ที่
ถูกจัดพิมพ์ขึ้นมา ใช้แทน ES. และ P
5. มาตรฐาน TIS
เป็นค าย่อมาจาก”มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” หมายถึงข้อก าหนดทางวิชาการที่ ส านักงาน
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)ได้ก าหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ
ในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดโดยจัดท าออกมาเป็นเอกสารและจัดพิมพ์เป็นเล่ม ภายใน มอก.แต่
ละเล่มประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่ส าคัญ
ประสิทธิภาพของการน าไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่น ามาผลิต และวิธีการทดสอบเป็นต้น
ปัจจุบันสินค้าที่สมอ. ก าหนดเป็นมาตรฐานปัจจุบันมีอยู่กว่า 2,000 เรื่อง ครอบคลุมสินค้าที่เราใช้ อยู่
ในชีวิตประจ าวันหลายๆ ประเภท ได้แก่ ประเภทอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
มอก. มีประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องในหลายด้านด้วยกัน ดังนี้
ประโยชน์ต่อผู้ผลิต
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
2. ลดรายจ่าย ลดเครื่องจักร ลดขั้นตอนการท างานซ้ าซ้อน
3. ช่วยให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพสม่ าเสมอ
4. ท าให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น และมีราคาถูกลง
5. เพิ่มโอกาสทางการค้า ในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการที่มีการก าหนดให้สินค้านั้นๆ ต้อง
ได้รับ มอก.
ประโยชน์ผู้บริโภค
1. ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า และ
2. สร้างความปลอดภัยในการน าไปใช้
3. ในกรณีที่ช ารุด ก็สามารถหาอะไหล่ได้ง่าย เพราะสินค้ามีมาตรฐานเดียวกัน ใช้ทดแทนกันได้
4. วิธีการบ ารุงรักษาใกล้เคียงกัน ไม่ต้องหัดใช้สินค้าใหม่ทุกครั้งที่ซื้อ
5. ได้สินค้าคุณภาพดีขึ้นในราคาที่เป็นธรรมคุ้มค่ากับการใช้งาน
ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจส่วนรวมหรือประโยชน์ร่วมกัน
1. ช่วยเป็นสื่อกลางเป็นบรรทัดฐานทางการค้า ท าให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความ เข้าใจที่ตรงกัน
2. ก่อให้เกิดความยุติธรรมในการซื้อขาย
3. ประหยัดการใช้ทรัพยากรของชาติ ท าให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
4. สร้างโอกาสทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย
5. ป้องกันสินค้าคุณภาพต่ าเข้ามาจ าหน่ายในประเทศ
6. สร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ
ขอบคุณข้อมูล จาก สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย อาคารส านักงานพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา
ชั้น 1-2 ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระขโนง เขตคลองเตย กรุงเทพ 10110