เทคนิคการต่อเติมครัวไม่ให้ทรุด

คงมีเจ้าของบ้านจำนวนไม่น้อย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภท ทาวน์โฮม บ้านจัดสรร) ที่คิดต่อเติมห้องครัวงอกออกมาทางหลังบ้าน เพื่อจะได้มีพื้นที่เป็นสัดเป็นส่วนสำหรับทำกับข้าวได้อย่างสบายใจ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะเกิด ควัน ไอ หรือ กลิ่น ลอยละล่องคละคลุ้ง มาแปดเปื้อนวัสดุหรือเฟอร์นิเจอร์ในบ้านที่อุตส่าห์เลือกเฟ้นมาอย่างดี ทีนี้เมื่อต่อเติมห้องครัวนอกบ้าน ก็ย่อมมีคำถามตามมาว่า แล้วจะใช้วัสดุมุงหลังคาแบบใดดี ?

ต้องย้อนไปทำความเข้าใจก่อนว่า การต่อเติมห้องครัวโดยส่วนใหญ่มักลงเสาเข็มที่สั้นกว่าเสาเข็มของตัวบ้าน จึงย่อมทรุดตัวไปไวกว่าตัวบ้าน (อันนี้ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจแต่อย่างใด) ซึ่งถ้าหากอยากจะชะลอการทรุดตัวให้ช้าลง ก็ควรจะหันมาเลือกใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาลงมาสักนิด

สำหรับวัสดุน้ำหนักเบาที่แนะนำ เช่น โครงสร้างเหล็ก แผ่นพื้น/ผนังไฟเบอร์ซีเมนต์  ผนัง/เคาน์เตอร์อิฐมวลเบา รวมถึงวัสดุมุงหลังคาแบบเบาๆ หรืออาจจะใช้วิธีทำ “หลังคากันสาด” ติดกับผนังบ้านเดิม เพื่อผลักภาระน้ำหนักของหลังคาทั้งชิ้นไปฝากไว้กับตัวบ้านแทนก็ได้ สำหรับวิธีนี้ ต้องคำนึงด้วยว่าเมื่อพื้นครัวส่วนต่อเติมทรุด ระดับหลังคาจะยังคงเท่าเดิม จึงควรใช้กับครัวแบบเปิดโล่งเท่านั้น และตัวหลังคาเองจะยื่นออกจากผนังไม่เกิน 2 เมตร เท่านั้น (หากเกินกว่านี้อาจต้องเริ่มใช้ค้ำยันช่วย)

แผ่นมุงหลังคา UPVC แบบทึบแสง และหลังคามุง UPVC
ที่มาภาพ: www.bitcrooftiles.com, www.hevta.com

แผ่นมุงหลังคา Polycarbonate และหลังคามุง Polycarbonate
ที่มาภาพ: www.chinaperfectroof.com/, www.homeimprovementpages.com.au

ไฟเบอร์ซีเมนต์ (Fiber cement) 
เป็นวัสดุมุงหลังคาวส่วนต่อเติมที่นิยมใช้กันมากทีเดียว เนื่องจากมีสีสันที่หลากหลาย ใกล้เคียงกับหลังคาคอนกรีต เมื่อนำมามุงส่วนต่อเติม จึงใช้ร่วมกันได้ไม่ขัดเขิน และส่วนใหญ่นิยมมุงร่วมกับหลังคาโปร่งแสง Fiber glass ที่มีลอนแบบเดียวกัน เพื่อช่วยเพิ่มแสงสว่างในเวลากลางวัน และจะได้ไม่ร้อนเกินไป หากใช้เป็นหลังคาโปร่งแสงหมดทั้งผืน

ทั้งนี้ เมื่อเลือกวัสดุมุงหลังคา (เบาๆ) สำหรับห้องครัวส่วนต่อเติมได้แล้ว อย่าลืมศึกษาวิธีการติดตั้งที่ถูกต้องจากผู้ผลิต เพื่อป้องกันปัญหารั่วซึมจากการติดตั้งผิดวิธี  และควรติดตั้ง Flashing โลหะ กันการรั่วซึมบริเวณรอยต่อระหว่างผนังบ้านกับหลังคา พร้อมทำรางน้ำให้เรียบร้อย เพื่อเลี่ยงปัญหาจุกจิกกวนใจเรื่องรั่ว (โดยเฉพาะในหน้าฝน) ให้ได้มากที่สุด

ลดโครงสร้างทรุดให้ห้องครัวต่อเติม
ด้วยหลังคาแบบเบาๆ

ขอบคุณที่มาและข้อมูล: https://www.scgbuildingmaterials.com/

ลักษณะการติดตั้ง Flashing (แผ่นสเตนเลสชุบสังกะสี) กันรั่วซึม

หลังคามุง Metal Sheet
ที่มาภาพ: www.jhjackson.com

สำหรับวัสดุมุงหลังคาที่มีน้ำหนักเบาที่จะมาแนะนำกัน คือ

Metal Sheet
หรือเรียกกันแบบไทยๆ ว่า “หลังคารีดลอน” มีหลายสีให้เลือก ในราคาที่ค่อนข้างเป็นมิตรต่อกระเป๋าสตางค์เจ้าของบ้าน ใครที่ชอบบ้านรูปทรงทันสมัยสไตล์โมเดิร์น Metal Sheet เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยตอบโจทย์เรื่องรูปทรง โดยสามารถมุงหลังคาองศาต่ำได้ หรือแม้แต่ดัดโค้งก็ยังได้

แต่ทั้งนี้ สำหรับใครที่คิดจะฝากฝังห้องครัวไว้ใต้ร่มเงา  Metal Sheet จะต้องยอมรับเรื่องเสียงดังเวลาฝนตก และด้วยคุณสมบัติที่เป็นแผ่นเหล็ก ทำให้ส่งผ่านอุณหภูมิ (อันแสนร้อนในหน้าร้อน) ได้ดี จึงควรจะติดตั้งระบบกันร้อนกันเสียงใต้หลังคาด้วย

Unplastizide Poly Vinyl Chloride 
วัสดุมุงหลังคาแบบเบาๆ ที่เป็นคู่แข่งสูสีกันอีกชนิดหนึ่งคือ Unplastizide Poly Vinyl Chloride  หรือที่นิยมเรียกย่อๆ ว่า “UPVC”   มีรูปลอน และขนาดหน้ากว้างใกล้เคียง  Metal Sheet รวมถึงราคาไล่เลี่ยกันและยังมีสีให้เลือกหลายสีด้วย

มีคุณสมบัติทนไฟ เมื่อฝนตกเสียงจะไม่ดังมาก ตัวแผ่นวัสดุประกบกันบน-ล่างโดยมีฉนวนกันความร้อนเป็นไส้กลาง ทั้งยังมีการเคลือบสี และสารป้องกัน UV ที่ผิว จึงใช้งานได้นับสิบๆ ปี สำหรับใครที่ชอบหลังคาโปร่งแสง UPVC ก็มีรุ่นที่เป็นสีขาวขุ่นให้เลือกใช้เช่นกัน

Polycarbonate
พูดถึงหลังคาโปร่งแสง (แบบเบาๆ) แล้วก็นับเป็นอีกไอเดียที่น่าสนใจ เมื่อแสงธรรมชาติส่องเข้ามาได้บ้าง ก็จะช่วยสร้างความมีชีวิตชีวาและยังเป็นการประหยัดพลังงานได้อีกทางหนึ่ง  โดยวัสดุที่เลือกใช้ได้

นอกจาก UPVC แล้วยังมี ”Polycarbonate”  หรือเรียกย่อๆ ว่า PC เป็นพลาสติกลูกฟูกที่มีคุณสมบัติโดดเด่น คือ
– มีความแข็งแรงมาก ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นจัดได้ดี
– มีความยืดหยุ่นในตัวสูง สามารถดัดโค้งได้โดยไม่ต้องพึ่งความร้อน
– มักเคลือบผิวด้วยสารดูดซับแสง UV จึงมีประสิทธิภาพในการกันความร้อนได้เกือบ 100%
– มีสีสันหลากหลายสวยงาม เป็นที่นิยมกันมาก

แต่เนื่องจากมีราคาค่อนข้างแพง ใครที่คิดจะเลือกใช้อาจต้องทุ่มทุนกันเสียหน่อย ข้อควรระวังอีกอย่าง คือเมื่อใช้หลังคา Polycarbonate ไปนานๆ อาจมีปัญหาเรื่องคราบตะไคร่น้ำจากความชื้นที่เข้าไปสะสมในโพรงอากาศของตัว พลาสติกลูกฟูก

Fiberglass Reinforced Plastics 
วัสดุมุงหลังคาโปร่งแสงอีกชนิดที่น่าสนใจและมีราคาถูกกว่า Polycarbonate เกือบครึ่งหนึ่ง คือ  Fiberglass Reinforced Plastics หรือเรียกสั้นๆ ว่า “Fiberglass” มีส่วนผสมของใยแก้ว ทำให้มีคุณสมบัติ เหนียว แข็งแรง ยืดหยุ่นดัดโค้งได้ มีสันหลากหลาย (แต่ละสีจะมีปริมาณที่แสงผ่านได้ต่างกัน) มีให้เลือกทั้งแบบแผ่นลอนและแผ่นเรียบ

หลังคา Fiberglass เมื่อใช้งานไปสักระยะจะไม่มีปัญหาเรื่องขุ่นมัว เนื่องจากตัววัสดุมีสารเคลือบป้องกันรังสี UV

แผ่นมุงหลังคา fiberglass

หลังคามุง fiberglass

ขอบคุณที่มาและข้อมูล: https://www.scgbuildingmaterials.com/