วิธีกำจัดสนิมไม่ให้กลับมากวนใจเหล็กดัด ราวบันไดเหล็ก
ประตูรั้วเหล็กที่บ้าน
เหล็ก กับ สนิม เหมือนเป็นไม้เบื่อไม้เมากัน เป็นคู่ปรับที่ต้องต่อสู้กันทุกครั้งที่มีความชื้นและอากาศมาผสมโรงกัน “สนิมกินเหล็ก” จึงเกิดขึ้นได้แทบจะเป็นเรื่องปกติเมื่อเจอสภาพอากาศของเมืองไทย ซึ่งเอื้อให้เหล็กเกิดสนิมได้ง่าย เพราะสภาพอากาศมีความชื้นสูง
เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากเหล็ก โลหะ หรือมีส่วนผสมของเหล็ก จะเกิดสนิมได้ง่ายซึ่งเป็นปฏิกิริยาเคมีตามธรรมชาติ หากเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ชิ้นเล็กอย่าง คีมตัด กรรไกร มีด การกำจัดสนิมจะทำง่ายและทำได้ทันทีเมื่อมองเห็นด้วยตาเปล่า ในกรณีอยู่ในจุดที่ยากต่อการสังเกตอย่างโครงสร้างหลังคา จะต้องหมั่นตรวจสอบและซ่อมบำรุงอยู่เสมอ แต่หากเป็นจุดที่มองเห็นได้ง่ายอย่างบริเวณที่ต้องสัมผัสกับแดดและฝนอยู่เป็นประจำ เช่น ประตูรั้ว เหล็กดัด ก็สามารถลงมือกำจัดสนิมได้เลยก่อนลุกลามกัดกินเหล็กจนไม่เหลือซาก
แม้ว่าเหล็กที่ได้มาตรฐานจะถูกชุบน้ำยากันสนิมมาจากโรงงานการผลิต แต่ก็ไม่ควรละเลยที่จะทาสีกันสนิมอีกชั้นเพื่อป้องกันพื้นผิวเหล็กจากสภาพแวดล้อมอันเป็นปัจจัยให้เกิดสนิม ช่างส่วนใหญ่จะมีวิธีกันสนิม 3 แบบด้วยกันคือ การชุบ การทา และการพ่น ตามแต่ความเหมาะสมและงบประมาณ อย่างในกรณีที่เป็นเหล็กโครงสร้างช่างเหล็กส่วนใหญ่จะใช้วิธีชุบกันสนิม ซึ่งรวดเร็วกว่าการทาหรือการพ่น แต่หากเป็นรั้ว ประตู หน้าต่าง ราวกันตกระเบียง ที่ติดตั้งแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้วิธีป้องกันสนิมด้วยการทา ซึ่งมีขั้นตอนที่ง่ายและสะดวกกว่าการพ่น ทั้งยังไม่ก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายไปโดนพื้นที่อื่น ๆ ด้วย
ขั้นตอนการทาสีกันสนิมบนพื้นผิวใหม่
1. ทำความสะอาดพื้นผิวเหล็ก โดยเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า และใช้ทินเนอร์เช็ด ระวังอย่าให้มีฝุ่น ผง สนิม คราบไขใด ๆ เกาะพื้นผิวเหล็ก
2. ทาสีรองพื้นแดงกันสนิม Nippon Red Oxide Primer จำนวน 1-2 รอบ และทิ้งไว้อย่างน้อย 8 ชั่วโมงขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ) ก่อนทาสีทับหน้าเพื่อรอให้เนื้อสียึดเกาะได้สมบูรณ์ ป้องกันปัญหาสีย่น
3. จากนั้นทาสีทับหน้า Nippon Paint Bodelac สีน้ำมันสำหรับเหล็กอีก 2 รอบ รอบแรกทิ้งระยะให้แห้งสนิทอย่างน้อย 8 ชั่วโมงขึ้นไปแล้วจึงทาทับอีกรอบเป็นอันใช้งานได้
ในกรณีซ่อมแซมส่วนที่เป็นสนิม
แม้อายุน้ำยากันสนิมจะยาวนานถึง 10 ปี แต่กระนั้นก็ควรตรวจสอบอยู่เสมอ เนื่องจากปัจจัยสภาพแวดล้อมมีโอกาสทำให้เกิดสนิมเร็วกว่ากำหนดได้ ในกรณีที่เกิดสนิม ควรซ่อมแซมด้วยการขูดสีเก่า ขัดคราบสนิมออกจนหมดด้วยกระดาษทราย แต่หากมีสนิมมากให้เคาะด้วยค้อนหรือใช้เครื่องขัดแล้วจึงทาสีรองพื้นกันสนิม เพื่อป้องกันปัญหาเดิมกลับมาเกิดอีกครั้งหากไม่ได้เตรียมพื้นผิวให้เรียบร้อย ดังนั้นขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวจึงสำคัญมาก ก่อนที่จะทาสีรองพื้นและสีทับหน้ากันสนิมต่อไป
1. ขัดสนิมออกจากพื้นผิว โดยใช้กระดาษทรายน้ำเบอร์หยาบ ชนิดแห้งหรือชนิดขัดน้ำก็ได้ หากเป็นชนิดขัดน้ำให้จุ่มน้ำก่อนเพื่อให้อ่อนตัว ก่อนจะนำมาขัดลอกสีเก่าและคราบสนิมบนพื้นผิวเหล็ก หรือใช้เกรียงขูดสีและสนิมออก หรือจะใช้แปรงลวดเหล็กขัดก็ได้
2. ระหว่างที่ใช้กระดาษทรายขัดสนิม ให้หล่อน้ำตลอดจะช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างขัดและไม่ต้องออกแรงให้เมื่อย ขัดส่วนที่เป็นสนิมออกจนถึงเนื้อเหล็ก และมั่นใจว่าไม่มีคราบสนิม จากนั้นให้ใช้กระดาษทรายน้ำเบอร์ที่ละเอียดกว่าขัดเก็บงานให้เรียบร้อย ล้างทำความสะอาดไม่ให้มีฝุ่นผงหลงเหลือ แล้วเช็ดให้แห้งสนิท
3. จากนั้นทาสีรองพื้นกันสนิม Nippon Red Oxide Primer โดยทา 1-2 รอบ รอให้สีรองพื้นแห้งสนิทอย่างน้อย 8 ชั่วโมงขึ้นไป
4. จากนั้นจึงค่อยทาสีทับหน้ากันสนิม Nippon Paint Bodelac โดยแนะนำให้ทาทับ 2 รอบเช่นเดียวกับสีรองพื้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ฟิล์มสี ป้องกันน้ำและอากาศเข้าถึงเนื้อเหล็กได้
Tips สีกันสนิม เลือกอย่างไร
ในท้องตลาดมีสีกันสนิมให้เลือกหลายชนิด สิ่งที่ต้องพิจารณาคือสารที่ประกอบในส่วนผสมของสีซึ่งแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติการยึดเกาะแตกต่างกัน เช่น สีอีพ็อกซี่จะมีความทนทานสูง แข็งแกร่ง แต่ราคาค่อนสูงจึงถูกใช้ในงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก สีน้ำมันจะเป็นสีที่มีส่วนผสมของอัลขีดเรซิ่น มีความมันวาว ยึดเกาะพื้นผิวได้ดี ราคาไม่แพง ใช้งานกับวัสดุได้หลายประเภททั้งไม้และเหล็กจึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ข้อควรพิจารณาในการเลือกคือคุณภาพของเนื้อสีควรติดทนนาน ทนต่อสภาพอากาศร้อนชื้นอันเป็นปัจจัยทำให้เกิดสนิม ต้องมีความปลอดภัยสูง เช่น ได้รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก. 2625-2557) ไร้สารตะกั่วและไม่มีโลหะหนักผสม อันเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานและผู้อยู่อาศัยซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน
ระบบสีนิปปอนเพนต์
สีรองพื้น นิปปอนเพนต์ เรด ออกไซด์ ไพรเมอร์ (Nippon Red Oxide Primer)
สีทับหน้า นิปปอนเพนต์ โบเดแลค 800 (Nippon Paint Bodelac 800) ด้าน หรือ
สีทับหน้า นิปปอนเพนต์ โบเดแลค 9000 (Nippon Paint Bodelac 9000) เงา
ขอบคุณข้อมูลจากสี NIPPON PAINT
ขอบคุณที่มา:https://www.baanlaesuan.com/