พื้นโรงรถ เสาเข็มจำเป็นหรือไม่?

การหล่อเทพื้นคอนกรีตเพื่อทำเป็นพื้นโรงจอดรถในบ้าน โดยทั่วไปจะทำได้ทั้งแบบที่ลงเสาเข็มและไม่ลงเสาเข็ม กรณีที่ไม่ลงเสาเข็มจะเป็นการทำ “พื้นคอนกรีตวางบนดิน” หรือที่เรียกว่า Slabs on ground ซึ่งจะถ่ายน้ำหนักโครงสร้างลงสู่พื้นดินโดยตรง  (ก่อนจะหล่อพื้นควรบดอัดดินและทรายให้แน่นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยป้องกันพื้นคอนกรีตแตกร้าวหากดินหรือทรายใต้พื้นยุบตัวไม่เท่ากัน)

                                                               ภาพ: พื้นคอนกรีตวางบนดิน (Slab on Ground)
                                                              เครดิตข้อมูลและภาพ:https://www.scgbuildingmaterials.com
อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของบ้านต้องการชลอการทรุดตัวของพื้นคอนกรีต อาจเลือกลงเสาเข็มสั้นได้ กรณีใต้พื้นที่ดังกล่าวไม่มีการเดินงานระบบใดๆ สามารถเลือกทำ ”ฐานเข็มแบบปูพรม” ซึ่งจะมีเสาเข็มรองรับใต้ดินกระจายทั่วพื้น  ในทางกลับกัน หากใต้พื้นดินมีการเดินงานระบบทำให้ไม่สามารถลงเข็มแบบปูพรมได้ อาจเลี่ยงมาใช้อีกวิธีคือการทำ “ฐานเข็มกลุ่ม” โดยลงเสาเข็มเป็นกลุ่มๆ ตามจำนวนฐานรากแทน
                           ภาพ: พื้นคอนกรีตกับการลงเสาเข็มแบบ “ฐานเข็มปูพรม” (ล่างซ้าย) และ “เข็มกลุ่ม” (บนขวา)
                                  เครดิตข้อมูลและภาพ:https://www.scgbuildingmaterials.com

                  สำหรับบ้านในโครงการจัดสรรที่อาจพบเจอปัญหาการทรุดตัวของพื้นโรงจอดรถจนเกิดโพรงใต้บ้าน หรือพื้นโรงจอดรถเกิดการแตกร้าว การที่เจ้าของบ้านจะแก้ปัญหาโดยเลือกลงเสาเข็มหรือไม่นั้น ให้ลองพิจารณาตำแหน่งพื้นที่และอัตราการทรุดตัวของพื้น หากพื้นที่นั้นถมดินไว้ไม่นาน หรือเคยเป็นบ่อบึงมาก่อน มักมีอัตราการทรุดตัวที่รวดเร็ว (อย่างน้อย 10 ซม. ภายใน 1 ปี) กรณีนี้ควรรอจนกว่าอัตราการทรุดตัวจะช้าลงพอสมควร จึงค่อยพิจารณาแก้ไขโดยรื้อพื้นคอนกรีตพร้อมวัสดุปูพื้นเดิมของออก จากนั้นเทพื้นคอนกรีตใหม่โดยลงเสาเข็มสั้นในภายหลัง
ทั้งนี้ ขนาดโครงสร้างส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เสาเข็ม ฐานราก และพื้น ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำและการออกแบบโดยวิศวกร

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก:https://www.scgbuildingmaterials.com