กฎหมายควบคุมอาคาร คิดจะสร้างอพาร์ทเม้นท์ต้องรู้

26ข้อ ควรรู้สำหรับผู้กำลังจะสร้างอพาร์ทเม้นท์ เเละอาคารทุกประเภท

ข้อ1.อาคารพักอาศัยรวม หมายความว่า อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นทีอยู่อาศัยสำหรับหลายครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละ ครอบครัว
ข้อ2.อาคารขนาดใหญ่ หมายถึง อาคารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกิน 2000 ตารางเมตร หรืออาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15.00 ม.ขึ้นไปและมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกิน 1000 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 2000 ตารางเมตร…. โดยสรุปให้เข้าใจง่ายดังนี้
     ประเภทที่1 พื้นที่เกิน 2000 ตร.ม. ไม่ว่าจะสูง กี่ชั้น
     ประเภทที่2. ความสูงเกิน 15.00 ม. และพื้นที่เกิน 1000 ตร.ม.
ข้อ3. พื้นที่อาคาร หมายความว่ (กฎกระทรวงฉบับที่ 33 ข้อ 1) พื้นที่ของพื้นอาคารแต่ละชั้นที่บุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ภายในขอบเขตด้านนอกของคานหรือภายในพื้นที่นั้น หรือภายในขอบเขตด้านนอกของผนังอาคาร และหมายความรวมถึงเฉลียงหรือระเบียงด้วย แต่ไม่รวมพื้นดาดฟ้าและบันไดนอกหลังคา
… สรุป คิดจากกรอบอาคารเข้ามา
การใช้ ศูนย์กลางเสาในการคิด ถือว่า ผิด ตามเจตนาของ กม.
ข้อ4.ดาดฟ้า หมายความว่า พื้นบนสุดของอาคารที่ไม่มีหลังคาคลุม และบุคคลสามราถขึ้นไปใช้สอยได้
ข้อ5.พื้น หมายความว่า (กฎกระทรวงฉบับที่ 55 ข้อ 1) พื้นที่ของอาคารที่บุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ภายในขอบเขตของคานหรือตงที่รับพื้น หรือภายในขอบเขตของผนังอาคารรวมถึงเฉลียงหรือระเบียงด้วย
ข้อ6.ถ้าเป็นอาคารสูง ไม่คิดพื้นที่ดาดฟ้าเป็นพื้นที่รวมอาคาร แต่หากเป็นอาคารขนาดใหญ่หรืออาคารสูงไม่เกิน 15.00 ม. คิดรวมพื้นดาดฟ้าบ้าง-ไม่คิดบ้าง… ในอาคารสูงไม่เกิน 15.00 อย่าสร้างบันไดขึ้นไป แก้ไขโดยมีห้องลิฟท์และ MANHOLE บันไดทางดิ่ง ขึ้นไป SERVICE

ข้อ7.การวัดความสูงอาคารให้วัดจากพื้นดินจนถึงดาดฟ้า ในกรณีมีหลังคาคลุมให้นับจากพื้นถึงยอดจั่ว(ไม่นับหลังคาห้องลิฟท์-บันได)– สูงเกิน 15.00 ม.แต่ไม่เกิน 23.0 ม.มีพื้นที่เกิน 1000 ตร.ม.เป็นอาคารขนาดใหญ่
-สูงเกิน 23.00 ม.เป็นอาคารสูง
ข้อ8.อาคารสูง หมายความว่า อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้มีความสูงตั้งแต่ 23.00 ม.ขึ้นไป
ข้อ9.อาคารสูงไม่เกิน 4 ชั้น และแต่ละชั้นใดชั้นหนึ่งสูงไม่เกิน 5.00 ม.วิศวกรผู้ออกแบบ เป็น ภย.ได้ เกินจากนั้นต้องใช้ สย.
ข้อ10.อาคารสูงไม่เกิน 8 ชั้น ภย.เซ็นตฺ์คุมงานได้ แต่ออกแบบไม่ได้

ข้อ11.ไม่เป็นอาคารขนาดใหญ่ไม่จำเป็นต้องมีที่จอดรถ
ข้อ12.เป็นอาคารขนาดใหญ่ต้องมีที่จอดรถ

-ใน กทม. พื้นที่อาคาร 120 ตร.ม./ 1 คัน เศษคิดรวมเป็น 1 คัน
– ในเขตเทศบาล ท่้องถิ่น 240 ตร.ม./ 1 คัน เศษคิดรวมเป็น 1 คัน
ข้อ13.ทางเข้าที่จอดรถหากเป็น 2 เลน ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 6.00 ม.
เลนเดียวกว้างไม่น้อยกว่า 3.50 ม.
ข้อ14.ขนาดของของที่จอดรถต้องกว้างไม่น้อยกว่า 2.40 ม.
– ความยาว หากจอดขนานกับทางเข้า ต้องยาวไม่น้อยกว่า 6.00 ม.
– หากจอดเป็นมุมองศา 30-90 เป็นทาง 2 เลนยาว 5.00 เป็นทางเลนเดียวยาว 5.50 ม.
ข้อ15.ด้านหน้า ถ้าไม่ติดทางสาธารณะต้องเว้น 6.00 ม.
หากติดทางสาธารณะที่กว้างน้อยกว่า 10.0 ม.ต้องเว้นระยะจากศูนย์กลาง
ถนนไม่ต่ำกว่า 6.00 ม
หากถนนสาธารณะกว้าง 10.00-20.00 ม.ต้องเว้น 1/10 ความกว้างถนน
หากถนนสาธารณะกว้าง 20.00 ม.ขึ้นไปต้องเว้น 2.00 จากแนวที่ดิน
(แต่ต้องคำนึงถึงระยะ SET BACK (2L=H) ด้วย)
ข้อ16.ระยะ SET BACK
(กฎกระทรวงฉบับที่ 55 ข้อ 44) ความสูงอาคารไม่ว่าจากจุดใดจุดหนึ่ง ต้องไม่เกิน 2 เท่าของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะทีอยู่ใกล้อาคารนั้นมากที่สุด (หากติดถนน 2 เส้น/ให้ใช้เส้นกว้างกว่า)
ข้อ17.ระยะ SET BACK กับระยะร่นตามข้อ 15 อันไหนมากกว่า ให้ยึดอันนั้น
ข้อ18.ช่องเปิด หมายถึง ประตู หน้าต่าง ระเบียง บล็อคแก้ว กันสาดหรือส่วนยื่นทางสถาปัตยกรรม ที่ยื่นเกิน 0.50 ม.
ข้อ19.ระยะร่นด้านที่ไม่ติดถนนสาธาณะ
– มีช่องเปิดสูงไม่เกิน 9.00 ม.เว้น 2.00 ม. สูงเกิน 9.00-23.00 ม.เว้น 3.00 ม.
– ผนังทึบ /สูงไม่เกิน 15.0 ม.เว้น 1.00 ม./สูงเกิน 15.00 แต่ไม่ถึง 23.00 ม. เว้น 2.00 ม.
ข้อ20.บันไดอาคารพักอาศัยรวมต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 ม. ลูกตั้งสูงไม่เกิน 18 ซม. ลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 25 ซม.
ข้อ21.ทางเดินกลางต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1.50
ข้อ22.ขนาดห้อง(รวมระเบียง)ต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 20.00 ตร.ม.
ข้อ23.อาคารทีสูง 4ชั้น และสูง3ชั้น แต่มีพื้นที่ดาดฟ้าเกิน 16.00 ตร.ม.ต้องมีบันไดหนีไฟ
ข้อ24.บันไดหนีไฟ
– หากเป็นผนังทึบสูงไม่เกิน 15.00 กันระยะร่น 0.50 หากสูงเกิน 15.00 ม. กันแนว 1.00 ม.
– ต้องก่อล้อมด้วยวัสดุทนไฟ แต่มีพื้นที่ระบายอากาศ(ช่องเปิด) รวมแล้วไม่น้อยกว่า 1.40 ตร.ม.
– ชันได้ไม่เกิน 60 องศา มีชานพักทุกชั้น
– ลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 25 ซม.ยาวไม่น้อยกว่า 80 ซม.
– ประตูบันไดหนีไฟ ต้องเป็นประตูทนไฟ มีโช๊คอัพติด เปิดผลักเข้าสู่บันไดหนีไฟในชั้น 2 ขึ้นไป ชั้นล่างเปิดออกสู่ที่โล่ง
– หน้าบันไดหนีไฟต้องมีพื้นว่างยาวไม่น้อยกว่า 1.50 ม.
– มีป้ายบอกชั้น ป้ายบอกบันไดหนีไฟเรืองแสง มีไฟฉุกเฉิน
ข้อ25.อาคารสูงไม่เกิน 23.00 ม. ไม่ได้กำหนดว่าต้องมีลิฟท์หรือลิฟท์ดับเพลิง (แต่ในทางปฎิบัติมักใช้แค่ 5 ชั้นกรณีไม่มีลิฟท์/ 6 ชั้นขึ้นไปควรมีลิฟท์)
ข้อ26.ติดตั้งระบบเตือนอัคคีภัยและเครื่องดับเพลิงแสดงในแบบขออนุญาต

 

ขอบคุณความรู้ดีๆจาก http://jp-builder.com และ asa.or.th